VDO การสอนคอร์ส Investment War Room 2022 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2564

VDO การสอนคอร์ส Investment War Room 2022 

  

โดย อจ. เผดิมภพ สงเคราะห์ 

 

          

        ประเด็นที่อาจารย์เผดิมภพ สงเคราะห์ จะพูดถึงในคอร์ส Investment War Room 2022 ก็คือมุมมองเรื่องของการลงทุนในขณะนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่คนส่วนมากค่อนข้างจะวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เราจึงต้องมาพูดคุยกันว่าทิศทางของการลงทุนมันควรจะไปทิศทางไหนบ้าง วันนี้เราจะไม่พูดถึงหุ้นตัวไหนพื้นฐานดีหรือตัวไหนพื้นฐานไม่ดี สิ่งที่ยากมากกว่าสิ่งใดคือ เราควรจะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น หรือว่าเก็บเงินสด เงินฝาก หรืออาจจะซื้อตราสารหนี้ระยะยาว ในวันนี้จะกล่าวถึงจังหวะที่อาจารย์เผดิมภพ ใช้เริ่มต้นการลงทุนทุกครั้ง ถ้าท่านใดเข้าใจตรงนี้ได้ Timing ของคุณจะถูกต้องและอาจจะ Error เล็กน้อย ความหมายก็คือจังหวะของการลงทุนถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า Fundamental ของหุ้น เพราะฉะนั้น step  ของการวิเคราะห์ที่ดีก็คือการรู้ว่าตอนนี้ควรจะลงทุนในหุ้นหรือไม่ และควรจะลงทุนในอุตสาหกรรมอะไรบ้าง สุดท้ายในแต่ละช่วงนั้นควรจะลงทุนใน sector ไหน

        การลงทุนในแต่ละช่วงที่น่าซื้อ เริ่มต้นตั้งแต่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร ความหมายคือจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนอาจจะต่ำนิดนึง ถัดมาก็คือตราสารหนี้ระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นเพราะมันถอนยาก แต่ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นมาหน่อย ถ้าเสี่ยงเพิ่มขึ้นก็คือการลงทุนในหุ้น ว่าจังหวะไหนเป็นการซื้อหุ้นที่ดีที่สุด เสี่ยงสุดๆเลยก็จะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ประกอบไปด้วย โลหะอุตสาหกรรม สินค้าทางการเกษตร สินค้าปศุสัตว์ พลังงาน สุดท้ายก็คือค่าระวางเรือ เพราะฉะนั้นท่านใดที่ชอบเล่นหุ้นพวกสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องเข้าใจ cycle ของมันด้วยว่าเวลาไหนควรจะลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ 

 

       

 

วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ

การลงทุนในแต่ละช่วง

  1. หุ้นที่ดีที่สุด ตราสารหนี้ระยะยาวรองลงมา 
  2. สินค้าโภคภัณฑ์ดีสุด หุ้นรองลงมา
  3. เงินฝากดีสุด สินค้าโภคภัณฑ์รองลงมา
  4. ตราสารหนี้ระยะยาวดีสุด เงินฝากรองลงมา

       จากรูป เส้นสีชมพูคือการประมาณการเศรษฐกิจในอนาคต ว่าจะถึงจุดที่ต่ำที่สุดของเศรษฐกิจเมื่อไหร่ ส่วนของเส้นประก็คืออัตราเงินเฟ้อหรืออัตราดอกเบี้ย ในทางภาษานักเศรษฐศาสตร์ก็คือ GDP และเงินเฟ้อ เวลาเราดูเราต้องดูคู่กันไม่ใช่ดูเฉพาะ GDP อย่างเดียว และไม่ใช่ดูรายได้อย่างเดียว ให้ดูในเรื่องของค่าใช้จ่าย นั่นคือดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ สองอย่างนี้นำมาลบกันฝั่งรายได้ต้องมากขึ้น ส่วนฝั่งค่าใช้จ่ายต้องลดลง จึงจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการซื้อหุ้น ซึ่งก็คือเศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ได้หมายความว่ามันจะไปอย่างในภาพทุกรอบ หลักการก็คือให้ดูเส้นสีชมพูและสีส้ม ถ้าในกรณีที่เส้นสีชมพูเศรษฐกิจกำลังจะต่ำทีสุดแล้วเริ่ม Rebound ขึ้นมา ความหมายคือรายได้กำลังจะทรงตัวแล้วเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายคือดอกเบี้ย/เงินเฟ้อกำลังจะลง ลบกันก็คืออัตรากำไรกำลังจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นช่วงที่น่าซื้อหุ้นที่สุด เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศ ก็คือช่วงที่เศรษฐกิจต่่ำที่สุด แล้วก็เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยภาวะขาลง คุณก็ถือไปเรื่อยๆนั่นคือรอบใหญ่ อย่างน้อยก็เป็นปีหรืออาจจะ 2 – 3 ปี ขึ้นไป พอถึงจุดหนึ่งที่อัตราเงินเฟ้อคือดอกเบี้ยถึงจุดที่ต่ำที่สุด เศรษฐกิจยังคงโตอยู่ ช่วงนี้หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศจะกำไรดีมาก และเริ่มจะเป็นจุดที่น่าสนใจเป็นอันดับ 2  จุดที่น่าสนใจเป็นอันดับ 1 ก็คือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ฉะนั้นดอกเบี้ยต่ำสุด เศรษฐกิจโตขึ้นให้คุณซื้อสินค้าโภคภัณฑ์คือช่วงที่ 2 พอเข้าสู่ภาวะจุดที่ 3 ก็คือเศรษฐกิจดีมาก เข้าสู่ภาวะปกติแต่หุ้นกลับไม่น่าสนใจ เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ความหมายก็คือกำไรจะเริ่มลดลง รายได้โตน้อยลงแต่ค่าใช้จ่ายคือดอกเบี้ยกำลังจะเพิ่มขึ้น จะต่างจากช่วงที่1 แต่ในช่วงที่3 คือเศรษฐกิจมันดีมากแต่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ลบกันคือัตรากำไรจะเริ่มติดลบ กล่าวคือรายได้โตไม่ทันแต่ค่าใช้จ่ายวิ่งขึ้นสูงกว่า และช่วงที่ 3 จะเป็นช่วงที่ถือเงินสด เก็บเงินฝากดีที่สุด ถ้าเป็นในประเทศก็คือเงินฝาก แต่ถ้าเป็นต่างประเทศสินทรัพย์ที่เทียบเท่าเงินสดหรือเงินฝาก เช่น ค่าเงินดอลลาร์ ทองคำ หรือในอนาคตมองเป็น Cryptocurrency ถ้าในอนาคตทุกคนยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ที่เทียบเท่าเงินสด แต่ ณ วันนี้ถ้าเห็นชัดๆก็คือดอลลาร์กับทองคำ ส่วนในช่วงที่ 4 ถ้าตอนนั้นเงินเฟ้อสูงสุดแล้วกำลังจะลง ให้ไปซื้อพันธบัตรระยะยาว ยิ่งยาวยิ่งดี ส่วนหุ้นที่น่าซื้อในช่วงที่ 4 ก็คือ หุ้นโรงไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ สรุปใจความง่ายๆ ว่าตอนนี้คุณอยู่ในช่วงไหน ต้องจับจังหวะให้ได้ ถ้าคุณคาดการณ์ถูกก็จับจังหวะถูก 

 

       ถัดมาก็คือตัวที่ใช้สังเกตหุ้นบ่อยๆก็คือการดูตัวเลขของการชี้นำ จะดูตัวเลขของ PMI เพื่อดูว่าในอนาคตเศรษฐกิจจะขยายตัวหรือชะลอตัว จากกราฟเป็นตัวเลขของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่สำรวจของ PMI ทั้งภาคบริการและภาคการผลิต สังเกตว่าถ้าสูงกว่า 50 คือเศรษฐกิจฟื้นตัว ถ้าต่ำกว่า 50 คือเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ตัวที่คนส่วนมากดูกันเยอะหน่อยก็คือภาคของการผลิต มาดูทางด้านอเมริกา หลักที่ธนาคารของสหรัฐอเมริกาใช้ดูคือเรื่องของการจ้างงาน สังเกตว่าตัวเลขการจ้างงานออกมาแต่ละครั้งของอเมริกา ล่าสุดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021ที่ผ่านมาตัวเลขการจ้างงานออกมาแค่ 210,000 ตำแหน่ง ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ 550,000 ตำแหน่ง ซึ่งเทียบกับเดือนตุลาคม 2021 ตัวเลขการจ้างงานอยู่ที่ 540,000 ตำแหน่ง ซึ่งหมายความว่าเริ่มมีการจ้างงานในอัตราที่น้อยลง ดังนั้นตัวเลขของการชี้นำของสหรัฐอเมริกาน้อยลงจากเดิม ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ จึงบ่งบอกได้ว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังชะลอตัว

       หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/