เงินเฟ้อปรับตัวทั่วโลก จะลงทุนหุ้นไทยต่ออย่างไรดี

เงินเฟ้อปรับตัวทั่วโลก จะลงทุนหุ้นไทยต่ออย่างไรดี

 

โดย อ. เผดิมภพ สงเคราะห์

วันที่ 17 ม.ค. 2022

 

 

 

          ทิศทางตอนนี้ในต่างประเทศเรื่อง COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ตอนนี้คนเริ่มมองเป็นประเด็น เข้าใจตรงกันว่าน่าจะถึงจุดสูงสุดและทิศทางปรับลงในอนาคต อาจจะมีการฉีดวัคซีน Pfizer ที่เป็นวัคซีนป้องกันสายพันธุ์ Omicron โดยเฉพาะ ทำให้ทิศทางของประเด็นหลักในเรื่องของ COVID-19 ช่วงนี้อาจไม่ใช่ประเด็นหลักต่อการลงทุน ยกเว้นมีทิศทางที่ดูดีขึ้นก็อาจจะมีผลในเชิงที่เป็นบวกกับหุ้นทั้งโลก ณ วันนี้ที่ยอดติดเชื้อของแอฟริกาใต้เริ่มลดลง แต่ทางฝั่งของอเมริกายอดผู้ติดเชื้อยังไม่ลง และทางฝั่งของอังกฤษยอดผู้ติดเชื้อเริ่มปรับตัวลดลง 

 

          ตัวเลขเศรษฐกิจของ Global ตอนนี้ ตัวเลข PMI ตัวเลขดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในอนาคต สังเกตว่าเริ่มทรงตัว จาก 54.8 (พฤศจิกายน) เป็น 54.3 (ธันวาคม) ตัวเลขรวมลง แต่ตัวเลข Manufacturing ปรับตัวขึ้น สัญญาณตรงนี้เป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ในทางกลับกันภาคของ Services และ Composite ลง และถึงแม้ตัวเลขของเงินเฟ้อลดลง แต่สิ่งที่ยังคงอยู่ก็คือเรื่องของ Input Prices กับ Output Prices ตัวเลขยังสูงอยู่ ทางด้านของดอกเบี้ย ณ วันนี้โดยเฉลี่ยของ Fed บอกว่าปีนี้จะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง แต่ว่าในตลาดการลงทุน CME FedWatch บอกว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง 

 

          ณ ตอนนี้เงินเฟ้อของอเมริกาที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เฉพาะดอกเบี้ย สิ่งที่กังวลมากกว่าคือ ในวันที่ 26 มกราคม Fed จะส่งสัญญาณในเรื่องของการลดขนาดงบดุล จะเอาพันธบัตรที่มีอยู่ไปขายทำให้เงินดอลลาร์หายไปจากระบบ อาจจะมีการพูดถึงน้ำหนักในเรื่องของการลดขนาดงบดุลหรือ QT ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1985 เคยลดขนาดงบดุลมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายลดแบบย่อยๆ พอลดเสร็จ ปี 2020 ก็เกิด COVID-19 มาพอดี เลยต้องทำ QE ใหม่ แสดงว่ามีโอกาสที่จะมีข่าวเรื่องของการลดขนาดงบดุล ซึ่งคาดไว้ว่าอาจจะมีการลดขนาดงบดุลเดือนกันยายน แต่ถัดมาตอนนี้น่าจะเป็นเดือนกรกฎาคม ตอนนี้สภาพคล่องของโลกจะตึงตัวเรื่อยๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือเรื่องของยุโรป เงินเฟ้อยังคงสูงอยุ่ แต่ว่าต่ำกว่าอเมริกาโดยประมาณ อเมริกาเงินเฟ้อ 7% ยุโรป 5% เยอรมัน 5.3% ทางฝั่งของญี่ปุ่นไม่ถึง 1% และจีนประมาณ 1.5% 

 

 

          ตัวเลขเศรษฐกิจไทยของธนาคารแห่งประเทศไทยมีการประกาศ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2564 Export value excl. gold ปรับตัวขึ้น PII PCI MPI และผลผลิตสินค้าเกษตร ก็ปรับตัวขึ้นได้ดี SPI excl.gold ก็ปรับตัวได้ดีขึ้นแต่ยังไม่ถึงก่อนเกิด COVID-19 มาลุ้นต่อในเดือนธันวาคม ที่จะประกาศวันที่ 31 มกราคม ว่าผลจะออกมาดีต่อหรือไม่

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจในระหว่างวันที่ 1 – 19 ธันวาคม โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในด้านภาคธุรกิจต่างๆ

  • ภาคการผลิต

ตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ตามคำสั่งซื้อสินค้าในประเทศจากเทศการวันหยุดปีใหม่

ตลาดส่งออก เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และอาหาร

  • ภาคบริการ

โรงแรมและร้านอาหาร ยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

การขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นตามการผลิตเพื่อการส่งออกและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น

การขนส่งผู้โดยสาร เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความมั่นใจในการเดินทาง

  • ภาคการค้า

สินค้าอุปโภคบริโภค ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งจากช่วงเทศกาลส่งท้ายปี

สินค้าคงทน ปรับดีขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะยานยานต์ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และจัดโปรโมชั่นในงาน Motor Expo

  • ภาคอสังหาฯ

อสังหาฯ ทรงตัว โดยการผ่อนคลายมาตรการ LTV ช่วยกระตุ้นยอดขายได้จำกัด เนื่องจากสถาบันการเงินยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ

ก่อสร้าง ทรงตัว ตามการลงทุนที่ฟื้นตัวได้ช้าและยังคงได้รับผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงและการขาดแคลนแรงงาน

 

          สำหรับเงินเฟ้อในประเทศไทยจะคล้ายกับประเทศจีน คือชะลอตัว เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัว ต่างจากประเทศอื่นที่เศรษฐกิจกำลังจะโตน้อยลง จากที่ดีมากเหลือแค่ดีธรรมดา เงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อประเทศไทยปีต่อปีในเดือนพฤศจิกายน 2.71% เดือนธันวาคม 2.17% ต่ำกว่าคาด เงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ 0.29% 

          หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/