สถานการณ์เงินเฟ้อและสงครามที่ยูเครน

สถานการณ์เงินเฟ้อและสงครามที่ยูเครน

 

โดย : อ.ชยนนท์ รักกาญจนันท์ (Mr. Messenger) 

ผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena

วันที่ 23 มี.ค. 2022

 

 

 

          สถานการณ์เงินเฟ้อล่าสุดในภาพรวมของตลาดโลก อย่างแรกเลยคือ ราคาน้ำมันปรับตัวค่อนข้างสูง ซึ่งสูงขึ้นมาก่อนหน้าที่จะมีวิกฤตยูเครน สาเหตุมาจากเรื่องของการที่ล็อกดาวน์ พอกลับมาเปิดความต้องการใช้สินค้า ความต้องการการท่องเที่ยว ความต้องการในการใช้พลังงานนั้นเพิ่มขึ้นสูง แล้วพอมีวิกฤตยูเครนเกิดการคว่ำบาตรขึ้น จึงผลักดันให้ราคาน้ำมันนั้นวิ่งขึ้นไปสูงขึ้นไปอีก เมื่อราคาน้ำมันวิ่งขึ้นไปสูงสิ่งที่วิ่งตามราคาน้ำมัน คือ ราคา Commodities วิ่งขึ้นมาตามราคาน้ำมัน เนื่องจากว่าน้ำมันเป็นต้นทุนของสินค้าที่เรียกได้ว่าแทบจะทุกสิ่งในโลกนี้ เมื่อราคาของ Commodities วิ่งขึ้นมา ซึ่ง Commodities มีทั้งสินค้าที่เรียกว่า Hard Commodities และ Soft Commodities พอวิ่งตามกันขึ้นมาเรื่อยๆ ราคาสินค้าเหล่านี้เมื่อราคาขึ้นมาก็เป็นไปได้ยากที่ คู่ที่เป็นคู่ค้าขายสินค้าเหล่านี้จะไม่ขยับราคาขายขึ้นและเมื่อขยับราคาขายขึ้น จึงเป็นที่มาว่าเงินเฟ้อขยับขึ้นตามไปด้วย

          EIA และ Consensus ได้มีการคาดการณ์ราคาน้ำมันจนถึงสิ้นปี 2023 ว่าจะมีระดับราคาน้ำมันอยู่ที่เท่าไร  Bloomberg Consensus คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจุดสูงสุดจะอยู่ประมาณปลายไตรมาส 1 2020 ราคาน้ำมันน่าจะค่อยๆ ลงมา และอยู่ที่ระดับประมาณ 75 เหรียญต่อบาร์เรลในระะยาว แต่ในขณะที่ GS Forecast บอกว่า ราคน้ำมันมีโอกาสที่จะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ราคาเฉลี่ยของทั้งปีประมาณ 105 -110 เหรียญ ในปี 2023 – 2024 ทางด้าน EIA Forecast ได้ Forecast ไว้ต่ำกว่า Bloomberg Consensus มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันอาจจะอยู่ที่ประมาณต่ำกว่า 70 เหรียญในระยะยาว จะเห็นได้ว่ามุมมองต่อราคาน้ำมันยังมีความสวนทางกันในแต่ละที่ แต่อย่างไรก็ตามได้เห็นตรงกันว่าราคาน้ำมันจะไม่ลงไปต่ำว่า 50 – 60 เหรียญต่อบาร์เรล 

 

          Bloomberg Economics ได้บอกว่าถ้าราคาน้ำมันยืนในเดือนมีนาคมได้ที่ระดับ 120 % จะมีโอกาสสูงมากที่เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นไปแตะที่ 9 % ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงอย่างนึงคือน้ำมัน 

 

 

 

          จับตามองสงครามรัสเซียยูเครน

          ความได้เปรียบของรัสเซียตอนนี้คือ  

          1.) ยูเครนยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ NATO จึงทำให้ความช่วงเหลือของ NATO เข้ามาที่ยูเครนไม่ได้เต็มที่ 

          2.) เงินเฟ้อจากราคาพลังงานยุโรปอยู่ในระดับสูง และแหล่งพลังงานสำึคัญคือรัสเซีย เพราะฉะนั้นยิ่งยื้อยุโรปยิ่งเสียเปรียบ

          3.) พี่ใหญ่อย่างเยอรมนี อญุ่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายของพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด ทำให้ต้องพึ่งพาพลังงานจากแก๊สของรัสเซียมากกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป

          4.) ประชากรในแคว้นดอนบาวฝักใฝ่หรือเอียงข้างรัสเซียมาก่อนหน้านี้แล้ว 

          5.) กำลังทหารเหนือกว่า NATO และยูเครนรวมกัน

 

          แนวโน้วในการบุกในอนาคต มองว่ามีแนวโน้วว่าจะเล่นเกมจ้องตาเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง รุกหลายรูปแบบ

          –  รุกแคว้นดอนบาสและพื้นที่อื่นๆ ด้วยข้ออ้างการรักษาความสงบ , Cyber Attack หนุนให้เกิดการประชามติเพื่อแยกตัว 

          – สร้างอำนางการต่อรอง จากการไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาติตะวันตก

 

          รัสเซียทนกับวิกฤตรอบนี้ได้เยอะขนาดไหน ? 

          ต้องไปดูที่เงินทุนสำรอง รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่สะสมทองเยอะที่สุดในแง่ของ Central Bank มาตลอด 3 ปีติดต่อกันแล้วมีการลดสัดส่วนการถือครอง USD เป็น Reserves มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังถือ Reserves เป็นดอลลาร์อยู่เยอะ การถูกแบบจากระบบส่วนหนึ่งต้องบอกว่า Reserves ที่เป็นดอลลาร์ก็ไม่สามารถใช้ได้ ทำให้รัสเซียเจอความลำบากแล้ว เลยเป็นที่มาว่ารัสเซียจำเป็นต้องค้าขายสินค้าของตนเองเป็นสกุลเงินอื่น ซึ่งถ้ารัสเซียจะค้าขายกับจีน แน่นอนว่าจีนไม่รับรูเบิล จีนรับเป็นหยวน

 

          Game Throry

          Positive Sum Game เปิดโต๊ะเจรจา

          – รัสเซียได้พื้นที่ยูเครนและยูเครนเข้าร่วม NATO

          – เป็นไปไม่ได้

          Zero Sum Game รัสเซียใช้กำลังทหารบุกเลี่ยงใช้ Stratrgic Nuclear

          – รัสเซียมีโอกาสชนะสูง จากกำลังที่เหนือกว่า

          – สงครามมีค่าใช้จ่ายกดดันเศรษฐกิจรัสเซีย และอำนาจของปูตินในเวลาต่อมา

          – มีโอกาสสูง เพื่อใช้เป็นฐานกาต่อรองในอนาคต

          Negative Sum Game สงครามเต็มรูปแบบ Stratrgic Nuclear ถูกนำมาใช้

          – ประชาชน เศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองฝั่งเสียหายอย่างหนัก

          – มีโอกาสต่ำมาก

 

          ค่าเฉลี่ยตอบแทน 1 เดือนหลังจากเหตุการณ์ ไม่มีนัยยสำคัญต่อตลาดหุ้น จะเห็นว่าตลาดสามารถรีบาวน์ได้ไม่ว่าจะเป็น 1 เดือน หรือ 3 เดือนหลังจากนั้น ซึ่งจริงๆ ก็จะเห็นรัสเซียนำทหารบุกยูเครนตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันนั้นจนถึงตอนนี้ตลาดหุ้นก็ค่อยๆ รีบาวน์กลับมาเรื่อยๆ ส่วนใหญ่หุ้นเทไปตามโมเมนตัมของตลาดมากกว่าเหตุการณ์ในอดีต ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่เข้าปี 2022 เป็นต้นมา มีเพียงตลาดหุ้นรัสเซียโดยตรงที่รับผลกระทบอย่างหนัก จากเหตุการณ์ Crimea 

 

          ตลาด US และ EU ได้รับผลกระทบเล็กน้อย  ถ้าเมื่อไรตลาดหุ้นปรับฐานเพราะวิกฤตหนักๆ ให้หาโอกาสว่าเป็นโอกาสซื้อ ซึ่งเราเห็นผลลัพท์แล้ว ตลาดหุ้นอเมริกา ตลาดหุ้นทางฝั่งยุโรปก็เริ่มรีบาวน์ โดยจุดต่ำสุดของ S&P500 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ตอนก่อน Fed ประชุมอยู่ที่ 4,100 จุด ตอนนี้อยู่ที่ 4,500 จุด ก็แปลว่าขึ้นมาแล้ว 8 % หรือทางฝั่งยุโรป STOXX600 จุดต่ำสุดของรอบคือวันที่ 7 มีนาคม คือจุดที่ตลาดกังวลเรื่องวิกฤตมากๆ อยู่ที่ประมาณ 4,417 ตอนนี้บวกขึ้นมา 9 % ซึ่งเห็นได้ว่าถึงแม้วิกฤตยังอยู่ สงครามยังอยู่แต่ตลาดหุ้นก็ยังเด้งได้ 

 

          จากสถิติในอดีต หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทิศทางของตลาดหุ้นไม่ค่อยมีนัยยะสำคัญกับเหตุการณ์ และเมื่อดูสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันที่สุด ส่วนใหญ่กระทบตลาดรัสเซียโดยตรงมากกว่าตลาดอื่น 

 

          หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ไม่ได้ทำสงครามเต็มรูปแบบ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

          – ในระยะสั้นตลาดยังคงโดนกดราคา Commodity ที่สูงขึ้น

          – เงินเฟ้อจะสูงขึ้นในระยะสั้น กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก

          – ตลาดจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในระยะยาว ทำให้ฟื้นกลับขึ้นมาได้

          – จากสถิติ เหตุการณ์ Event Shock ไม่ได้มี Impact มากต่อตลาด

 

 

          หากเกิดสงครามเต็มรูปแบบระหว่างสองประเทศ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

          – ภาวะสงครามกดดันราคาน้ำมันและสินค้าโภคภันฑ์

          – กดดันเงินเฟ้อจากฝั่ง Cost Push Inflation 

          – หุ้นได้รับผลกระทบหมด รวมถึง Value ถ้าไม่นับกลุ่ม Energy

 

 

หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/