ตลาดหุ้นไทยเอายังไงต่อ ในวันที่ระดับเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งไม่หยุด

ตลาดหุ้นไทยเอายังไงต่อ ในวันที่ระดับเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งไม่หยุด 

 

โดย อ.ปุณยวีร์ จันทรขจร

วันที่ 16 ก.พ. 2022

 

 

          อ.ปุณยวีร์ จะมาแชร์ข้อมูลสั้นๆ ในมุมของการเทรดเราจะเห็นว่าความผันผวนจะเกิดขึ้นค่อนข้างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น SET ที่เพิ่งกลับลำและทองที่จากที่ขึ้นมาสวยๆ แต่ดันหล่นลงมา อ.ปุณยวีร์คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้น่าจะเป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ปีนี้น่าจะเป็นที่ผันผวนค่อนข้างมาก 

          สิ่งที่จะนำมาแชร์และเป็นเรื่องที่ทุกท่านอาจจะทราบอยู่แล้ว เป็นเรื่องของการที่จากที่เราเคยได้ยินตลอด เรื่องของดอกเบี้ยที่ว่าจะ Price in รึยัง หรือไม่ Price in แต่ว่าที่รู้กันแน่นอนอยู่แล้วคือตอนนี้ตลาดน่าจะ Price in ไปแล้วกับการขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25 และน่าจะมีการขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม 0.5% ข่อสังเกตที่น่าสนใจคือตอนนี้ Fed ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ยังไม่ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย และแสดงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เนื่องจากตลาดหุ้นเป็นการมองไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นก็หมายถึงว่าจริงๆ แล้วระดับราคาของสินทรัพย์น่าจะรับข่าวไปแล้ว ต่อให้ให้มีการขึ้น 0.5% จริงๆ น่าจะไม่ได้มีผลอะไรมากมาย ถ้าเกิดลงก็ไม่ได้ลงมากไปกว่านี้

          หลักๆ ที่วางแผนในการเล่นการขึ้นลงของดอกเบี้ยคือการปรับต้นทุนของเงินหรือเป็น Price of money การปรับขึ้นลงของดอกเบี้ยสิ่งที่จะกระทบคือ Asset Allocation หมายถึงเงินยังไม่ได้ออกจากตลาด แต่เนื่องจากดอกเบี้ยมีการปรับขึ้นลง ต้นทุนของเงินมีการปรับขึ้นลง เพราะฉะนั้น Asset จะหมุนเป็น Sector rotation สลับไปสลับมา ซึ่งเป็นตลาดที่นักเทรดหุ้นน่าจะชอบ แต่นักลงทุนไม่น่าจะชอบเท่าไหร่ เพราะว่าสุดท้ายถือแล้วก็กลับมาที่เดิม แต่สิ่งที่กังวลแล้วรออยู่คือตลาดน่าจะยังไม่ Price in และเป็นปัจจัยที่ทุกคนยังรออยู่ คือ การปรับลดขนาดงบดุล สิ่งนี่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่เพราะถ้าเกิดเป็นการลดขนาดงบดุลอาจจะมีปัญหากับตลาดพันธบัตร เราต้องมองว่าตลาดพันธบัตรสำคัญ เพราะเป็นที่มาของเงินและที่ไปของเงินจะอยู่ที่หุ้น อยู่ที่สินค้าโภคภันฑ์ อยู่ที่ Cryptocurrency ถ้าเราอ่านภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องอ่านตัวที่มาก่อนแล้วค่อยอ่านตัวที่ไ่ป จากภาพที่เราเห็นแล้ววันนี้มันเป็นแค่การทำ Asset Allocation เฉยๆ เพราะเป็นการปรับขึ้นลงดอกเบี้ย แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือจะลดขนาดงบดุลหรือไม่ ต้องรอประมาณกลางเดือนมีนาคม

          ตอนนี้ยังไม่มีใครทราบว่าเงินเฟ้อจะหยุดที่ตรงไหน จะไปต่อรึเปล่าอย่างตัว CPI ที่ประกาศมาล่าสุดไม่ได้โฟกัสแค่ราคาพลังงานหรือราคาบ้าน ราคาค่าเช่าแต่เป็นฐานกว้างทุกอย่างขึ้น เพราะฉะนั้นภาพที่คาดการณ์ได้เป็น เรียกว่า Structural Inflation หมายถึงเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับสูงแต่อัตราการเปลี่ยนแปลงในการขึ้นอาจจะไม่ได้สูงมาก อาจจะอยู่ประมาณ 6-7% เป็นระยะเวลานานแบบนี้ไปเรื่อยๆ และคิดว่าตลาดก็น่าจะ Price in ในฝั่งนี้ไปแล้ว จากวันนี้จนถึงช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม อ.ปุณยวีร์ คิดว่าน่าจะเล่นการสลับกลุ่มแบบนี้ไปเรื่อยๆ 

 

 

          ในภาพเป็นภาพของการเคลื่อนไหวเป็นเปอร์เซ็นของหุ้นใน SET50 เป็นสิ่งที่ อ.ปุณยวีร์และทีมงานใช้อยู่ คือสมมติฐานเบื้องต้นอันแรกก่อนในการเทรด เรามองว่า เราอยากให้ตลาดแสดงแรงซื้อของสินทรัพย์หรือหุ้นแต่ละตัวนั้นโพล่มาก่อน แล้วเราค่อยติดตามโดยไม่คาดการณ์ว่าเงินน่าจะหมุนไป sector ไหน แต่เราจะแสดงออกมาจริงๆ ก็ต่อเมื่อเราเห็นแรงซื้อเข้าไปใน sector นั้นๆ แล้ว สีชมพูคือการขยับของราคาหุ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ สีฟ้าคือการขยับของราคาหุ้นในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาก สมมติฐานที่เราใช้ในการเทรดในภาพนี้คือเราอยากรู้ว่าตัวใดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีแรงซื้อสูงสุด ถ้าดูจากฝั่งขวามาเรื่อยๆ จะเห็นว่าตัวที่ชึ้นมาค่อนข้างแรง เช่น CRC มีแรงซื้อขึ้นมา ซึ่งแรงซื้อคืนพวกนี้เราจะเห็นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือน พอเราเห็นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเราจะมองว่าสมมติฐานเราคือตัวที่น่าจะเป็น Winner ของในแต่ละเดือนควรจะแสดงความแข็งแรงของราคามาตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกเป็นต้น เราก็จะได้ลิสต์หุ้นพวกนี้มาแล้วเราต้องตามเงินใหญ่ไป โดยที่ไม่ต้องทำการคาดการณ์ไปเองก่อนล่วงหน้า แต่เราจะเห็นแล้วว่าเงินเข้าใน Flow ไหนบ้าง 

          แต่หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/