VDO การสอนคอร์ส Investment War Room 2022 (วันที่ 11 ธันวาคม 2564)
VDO การสอนคอร์ส Investment War Room 2022
โดย อ. ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ
วันที่ 11 ธันวาคม 2564
มีอยู่ 3 ธีมใหญ่ๆ ที่จะต้องเจอในปีหน้า
- การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง
ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ยุโรป ไทย หรือ จีน ปีหน้าจะต้องเติบโตช้าลง การเติบโตที่ช้าลงจะเกิดขึ้นในช่วงหลังของปี หรืออาจจะเห็นได้ตั้งแต่เริ่มไตรมาส 2 (Q2) แต่ญี่ปุ่นและ Asia Emerging Market มีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น
- ปัญหาคอขวดของอุปทานจะทำให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรงต่อเนื่อง
การแพร่ระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่อาจทำให้เกิดการจำกัดการเดินทาง ซึ่งจะทำให้ห่วงโซ่อุปทานต้องเจอกับปัญหาคอขวดอีกครั้ง และแม้ราคาน้ำมันมีแน้วโน้มลดลง แต่ปัญหาคอขวดของอุปสงค์จะทำให้เงินเฟ้อขึ้นต่อเนื่อง
- นโยบายการเงินตึงตัว และสภาพคล่องของสินทรัพย์เสี่ยงจะลดลง
ธนาคารกลางหลักของโลก มีแนวโน้มจะดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยเฉพาะ Fed ที่จะเพิ่มความเร็วในการลด QE เร่งดอกเบี้ยขึ้นในปี 2022 และในครึ่งปีแรกสินทรัพย์เสี่ยงยังคงได้แรงหนุนจาก Momentum การเติบโต แต่ในครึ่งหลังของปีจะต้องเจออุปสรรคทั้ง การเติบโตต่ำ เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และสภาพคล่องที่จะลดลง
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
ส่วนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่ๆ
- World Economic Growth Slowdown Ex China เศรษฐกิจโลกชะลอ ยกเว้นจีน
- Financial Volatility ความผันผวนในตลาดการเงิน
- Global Stagflation สภาวะที่โลกเจอกับเงินเฟ้อพร้อมกับเศรษฐกิจตกต่ำหรือทดถอย
โดยปกติเวลาเศรษฐกิจเจอเงินเฟ้อควรจะต้องดี เงินเฟ้อในระดับ 1 – 3 % จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อได้ แต่ถ้าเงินเฟ้อระดับ 3 – 5 % จะเริ่มเป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ เศรษฐกิจอาจจะเริ่มเติบโตยาก และถ้าเงินเฟ้อเกินกว่า 5 % จะเป็นอุปสรรคอย่างมาก
ส่วนที่อาจจะเกิดขึ้น
- Extreme Weather สภาพอากาศที่รุนแรง
ในบางภูมิประเทศแล้งมาก เช่น บราซิล อาร์เจนติน่า ขาดแคลนน้ำในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงประเทศไทยเจอน้ำท่วม บางส่วนเจออากาศหนาววิปริต บางส่วนเจออากาศร้อนวิปริต รวมถึงภัยธรรมชาติต่างๆ
- New Covid-19 Variant (Omicron)
- Geopolitical Riek ความเสี่ยงเชิงภูมิศาสตร์
Economic Growth in 2022
Economic Growth Slowdown สังเกตได้ว่าสหรัฐฯโตช้าลง ยุโรปโตช้าลง จีนโตช้าลง แต่ญี่ปุ่นที่อาจจะโตได้ดีขึ้นเพราะว่าปี 2021 มีการโตที่ต่ำ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ปีนี้อาจจะโต 1.5% ปีหน้าอาจจะโตในระดับ 3.5% – 4% ส่วนสาเหตุที่ปีหน้าประเทศไทยจะโตดีกว่าปีนี้เพราะฐานปีนี้ต่ำ แต่หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ที่โตต่ำลง เพราะว่าปีนี้มีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี มีการเปิดเมืองหลายๆ อย่าง และมาเจอความเสี่ยงเรื่องของ Omicron และเรื่องปัญหาคอขวดของอุปทาน แต่ อ. ปิง มองว่า ประเทศจีนอาจจะมีเซอร์ไพรส์ จีนอาจไม่ได้เติบโตต่ำในปีหน้าเนื่องจากปีนี้จีนเศรษฐกิจเติบโตต่ำกว่าคาดแล้ว ปีนี้อาจจะไม่ได้เติบโตถึง 8.4% อาจจะเติบโตแต่ 6% แล้วไปลุ้นฟื้นตัวในปีหน้ามากกว่า เพราะว่าปีนี้ตอนต้นปีประเทศจีนมีการฟื้นตัวเศรษฐกิจค่อนข้างแรก เพราะจีนเป็นประเทศเดียวที่คุม Covid-19 ได้ จึงดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจะไปได้ด้วยดี แต่ปรากฏว่าพอไปได้ด้วยดี จีนเองก็ดำเนินนโยบายด้วยการที่จะควบคุมไม่ให้เศรษฐกิจในประเทศร้อนแรงเกินไป โดยเฉพาะการออกมาตรการในการสกัดบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีน ออกมาตรการเพื่อให้หลายบริษัทหรือธุรกิจในประเทศเติบโตไปพร้อมกัน ไม่ให้มีบริษัทขนาดใหญ่ที่เติบโตแล้วได้เปรียบไปกว่าบริษัทอื่น รวมทั้งความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในอีกหลายๆ เรื่องจึงทำให้ทุกอย่างแย่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ แต่ด้วยความที่ประเทศจีนควบคุมการแข่งขัน เพื่อที่จะให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ถ้าเรามองถึงระยะยาวเศรษฐกิจจีนในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตแบบมีเสถียรภาพมากขึ้น และความมีเสถียรนี่ทำให้ประเทศจีนดูดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
Global Econome หลายภาคชี้ว่าช่วงที่ผ่านมามีร่วงลงมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Manufacturing PMI , Global PMI และ Service PMI เพียงแต่ว่าในเดือน 10 เริ่มมีเค้าลางการฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อย
หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)”
สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/