VDO การสอนคอร์ส DeFi & GameFi

“เทคนิคการจำแนกประเภท และการประเมินราคาเหรียญคริปโต” VDO การสอนคอร์ส DeFi & GameFi พร้อมเจาะลึกโอกาสลงทุนใน Axie Infinity 

 

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 65 

 

โดย อ.นิรันดร์ ประวิทย์ธนา CEO บริษัท เอวา แอดไวเซอรี่ จำกัด

 

 

          การแบ่งประเภทสินทรัพย์ในโลกของคริปโตซึ่งมันจะเกี่ยวโยงกับ Blockchain ว่าเราจะเลือก Blockchain ยังไงหรือเราจะประเมินมูลค่า Blockchain ยังไง และใช้หลักการไหนในการคิด ซึ่ง อ.นิรันดร์ ประวิทธนา ได้แนะนำแนวคิดแบบ Crypto Asset Classification and Valuation ส่วนใหญ่จะแบ่งตามพฤติกรรมของคริปโตและรูปแบบธรรมชาติของมัน และแนวทางในการประเมินราคา คริปโตกลุ่มแรกจะเรียกว่า Crypto Asset ที่ใกล้เคียงกับหุ้น คริปโตเหล่านี้เป็นคริปโตที่มีกระแสเงินสด เป็นคริปโตที่มีการเกาะธุรกิจ มีรายได้ มีเงินหมุนเวียน ซึ่งเงินหมุนเวียนและกระแสเงินสดเหล่านี้สะท้อนมาเป็นกำไร และกำไรสะท้อนกลับเข้าไปยังกลุ่มผู้ถือเหรียญ คล้ายๆกับรูปแบบของเงินปันผลหรือรูปแบบของการซื้อหุ้นคืน คริปโตเหล่านี้เป็น

คริปโตกลุ่มที่เราประเมินมูลค่าได้โดยการใช้กระแสเงินสดคาดการณ์ และก็ประเมิน Valuation ในรูปแบบของ PE  

          

         คริปโตกลุ่มที่สองต่างกัน เป็นคริปโตกลุ่มที่ไม่มีกระแสเงินสดหมุนเวียนแต่เป็นคริปโตกลุ่มที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับทองคำ ยกตัวอย่างเช่น บิตคอยน์ กลุ่มที่สาม คริปโตกลุ่มที่สามเป็นคริปโตกลุ่มที่เทียบเคียงว่ามันใกล้เคียงกับ Commodity คือทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อเรามองเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมาจะถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน เพราะว่าโลกเราเน้นในเรื่องของโลจิสติกส์ เน้นเรื่องของภาคการผลิตขนาดใหญ่ น้ำมันจึงกลายเป็น Commodity ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจหรือส่งออกจึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่น้ำมันจะเป็นหัวใจสำคัญ น้ำมันจึงเป็นสินทรัพย์ที่ใช้เพื่อผลักดันเศรษฐกิจหรือ GDP เพราะฉะนั้นในโลกของคริปโต มันก็จะมีสินทรัพย์ประเภทนี้เช่นกัน ถ้าเราเชื่อว่าโลกของ Blockchain และโลกของ Decentralized Finance จะเติบโต น้ำมันอะไรที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจเหล่านี้มันก็คือพวกค่า Gas ต่างๆของ Blockchain มองว่าพวก Blockchain ต่างๆแม้มันจะมีกระแสเงินสด แม้มันจะมีสภาพคล่องแต่จริงๆแล้วมันคล้ายกับ Commodity คือมันช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนัิ้นราคาของมันอาจจะไม่ได้ประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดที่ได้ แต่อาจจะประเมินมูลค่าจากแนวโน้มการเติบโตหรือ Demand และ Supply 

 

 

Ethereum 

        เรามาทบทวนเรื่องของ Smart Contract ก่อน แนวคิอของ Smart Contract คือเราพยายามจะสร้างระบบที่ไม่มีตัวกลาง ภาพบนเป็นสถาบันการเงิน คุณจะทำธุรกรรม กู้เงิน ฝากเงิน คนโดยส่วนมากไม่ทำธุรกรรมกันเองแต่มักจะเชื่อตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน โดยมากจะทำผ่านแบงค์เพราะเราต้องการตัวกลางที่เราสามารถเชื่อใจได้ ว่าเขาจะดูแลเงินหรือดูแลสัญญาอะไรต่างๆได้อย่างถูกต้อง คำถามคือถ้าเราตัดตัวกลางออกไปจะเกิดอะไรขึ้น? ตำตอบคือเราจำเป็นจะต้องมีตัวกลางตัวใหม่ที่มาช่วยยืนยันธุรกรรมต่างๆเหล่านี้ โดยที่เราจะไม่มีตัวกลางที่สถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการกระจาย node อย่างเช่น Ethereum ตอนนี้มี node กระจายอยู่ทั่วโลกเป็นพันๆ node  ซึ่ง node เหล่านี้จะช่วยยืนยันธุรกรรมต่างๆแทนสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง พอทำแบบนี้ตัวกลางก็หายไป แต่คำถามที่คนส่วนใหญ่อยากรู้และสงสัยคือตัวกลางเหล่านี้ได้ผลตอบแทนอะไร ทำไมถึงต้องมาเป็นพยานในการยืนยันธุรกรรมต่างๆให้ใครก็ไม่รู้บนโลกใบนี้ด้วย ดังนั้นมันจึงมีการจ่ายผลตอบแทนกลับไปให้ตัวกลางที่เป็นพยานเหล่านี้ ในรูปแบบหลายๆรูปแบบ เช่นจ่ายเป็นค่า Gas ดังนั้นให้รู้ว่าพยานเหล่านี้เหมือนสถาบันการเงิน แต่มันกระจายอยู่ทั่วโลก หลักการทำงานคือเวลาคนทำธุรกรรมการโอนหรือ Smart Contract  บน Ethereum จะมีการจ่ายค่า Gas ตามความซับซ้อนของ Smart Contracts

 

 

Gas คืออะไร?

        Gas จริงๆแล้วมันเป็นหน่วยหน่วยหนึ่ง ที่ใช้ประเมินความถูกแพงของ Ethereum โดยที่เราเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ต้องใช้น้ำมัน ในขณะที่โลกปัจจุบันหากคุณเชื่อว่าในอนาคต Blockchain จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก น้ำมันบนโลกของ Blockchain  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดซึ่งเราเรียกกันว่าค่า Gas หัวใจสำคัญของค่า Gas ใน Ethereum คือทรัพยากรในโลกคริปโตมันมีจำกัด ดังนั้นเราจะไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย จะทำธุรกรรมโดยจ่ายค่า Gas แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนใช้หนาแน่น ใครจ่ายแพงกว่าคนนั้นได้สิทธิไปก่อน พูดง่ายๆคือถ้าคุณจ่ายค่า Gas น้อยต้องรอนานถ้าคุณจ่ายค่า Gas มากคุณจะไปได้เร็ว ดังนั้นจึงเกิดภาวะที่มีคนเริ่มมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ค่า Gas ค่อยๆแพงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็น Blockchain สุลต่าน ไม่รวยจริงอยู่ไม่ได้ กลายเป็นว่าต้นทุนในการผลิตธุรกรรมมันแพงกว่า Traditional Finance อีก ซึ่ง Vitalik พยายามจะแก้ปัญหานี้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยปลายทางเขาอยากจะสร้าง  Ethereum เวอร์ชั่น 2  เป็น Ethereum ที่ยังคงคุณสมบัติการกระจายแบบเดิม และอยากจะเปลี่ยนให้มันเร็วขึ้น

 

 

Block Reward vs Gas

       คนขุด Ethereum  หรือการเป็นพยานใน Ethereum  ได้อะไรบ้าง คนขุด Ethereum ได้ 2 อย่าง Block Reward คือจำนวน node เพิ่มขึ้นจะถูกกระจายไปให้ผู้ขุด ในสัดส่วนที่ใครขุดมากก็ได้มาก ใครขุดน้อยก็ได้น้อย ระบบนี้จะเรียกว่า Proof of Work การเป็น Proof of Work คือคุณเข้าไปเป็นพยานให้กับระบบ เพื่อได้ Reward บางอย่าง การเป็นพยานจะต้องซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการ์ดจอมาเพื่อขุด การขุดก็คือการเป็นพยานนั่นเอง เพราะฉะนั้นคนขุด Ethereum ที่ผ่านมาจึงได้ประโยชน์จากสองทาง อย่างแรกคือได้ Block Reward จากการขุดอย่างที่สองคือได้ค่า Gas จากคนที่มาทำธุรกรรมโดยการจ่ายเงินให้

 

 

London Hard Folk (EIP 1559) คืออะไร 

       London Hard Folk (EIP 1559) คือ การเปลี่ยนจากผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ หรือคนที่ขุด Ethereum ที่จะได้ค่า Gas ได้เปลี่ยนมาให้ประโยชน์กับผู้ที่ถือ Ethereum ทุกคน โดยการเบิร์น Ethereum ทิ้ง  เพราะฉะนั้นตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบที่ออกมาเริ่มมีการเบิร์นเหรียญ Ethereum บ้างแล้ว ดังนั้น Ethereum จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆในตลาด แปลว่ามันจะมีคุณสมบัติที่คล้ายกับบิตคอยน์ คือเป็นสินทรัพย์ที่หายากและไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ นี่คืออุดมการณ์และความคิดของ Vitalik และทีม Ethereum  ในการทำ London Hard Folk 

 

       หากท่านใดสนใจคอร์สการเรียนรู้และมองหาโอกาสการลงทุนในตลาด Cryptocurrency คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ  Cryptocurrency Trends 2022” รวมวิทยากรระดับแนวหน้าของเมืองไทยเพื่อมาอัพเดทเทรนด์ต่างๆในคริปโตในอีก 5 ปีข้างหน้า

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/trends2022/