RBF ภาค 2/2 : จ้าวสีกลิ่นรส
โดย เอก ธำรง
เจ้าของเพจ VI Buffet byเอกธำรง
ใครที่ยังไม่ได้อ่านภาค 1 ที่ปูพื้นฐานบริษัทอ่านลิงค์ข้างล่างก่อนนะครับแล้วค่อยต่อไม่งั้นน่าจะไม่เข้าใจ
https://rebrand.ly/csi-rbf
บริษัทเข้าเทรดวันที่ 24 ตุลาคม 2019 เปิด 4.08 ปิด 4.36 ช่วงราคา 4.02 ถึง 4.58 ด้วยราคาไอพีโอ 3.3 บาท(520 ล้านหุ้น พาร์ ฿1 หลังเข้าตลาดมี 2,000 ล้านหุ้น) ได้เงินสุทธิ 1,665,000,000 เหลือ 544,000,000 @ สิ้นปี 2020 โดยหลักๆจ่ายหนี้สินไป 5-600 ล้าน เงินหมุนเวียนใช้ไป 462-562 ล้าน
เดือนเมษายน 2020 กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ขาย 45,000,000 หุ้นให้พาร์ทเนอร์ญี่ปุ่น 4.25 บาท (จากรายชื่อผู้ถือหุ้นช่วงปิดสมุดจดทะเบียน 12/3/21 ญี่ปุ่นมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านหุ้น)
คาดการณ์ 2021 รายได้เติบโต 10 ถึง 12%(ไม่รวมกัญชง) และน่าจะเติบโตในอัตราเดียวกันจนถึงปี 2024 เท่าที่มองเห็นในตอนนี้ถ้าไม่มีโปรเจ็คพิเศษอะไรเกิดขึ้นมา
บริษัทมีแผนคุมค่าใช้จ่ายการขายและบริหารให้อยู่ที่ 20 ถึง 23% ในอีก 3 ปี
ปี 2020 ลงทุนมากกว่าปกติ (400+ล้าน) เพราะรัฐบาลช่วยค่าใช้จ่ายด้านภาษีในการลงทุนเครื่องจักร ปี 2021 คาดการลงทุนกลับไปสู่จุดเดิมที่ 100 กว่าล้านบาทไม่รวมอินโดเฟส 2 (ตัวเลขนี้ดูได้จากงบกระแสเงินสดจากการลงทุน)
ผลประกอบการบริษัท
(ในวงเล็บจะเป็นกำไรขั้นต้น)
2019 : บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,776 ล้านบาท (1,108 ล้านบาท) + โรงแรม 88 ล้านบาท (-17 ล้านบาท) = รายได้รวม 2,865 ล้านบาท
อัตรากำไรขั้นต้น 38.07%
กำไรสุทธิ 354 ล้านบาท
EPS 0.18
สินทรัพย์ 4,412 ล้านบาท หนี้สิน 542 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,870 ล้านบาท
2020 : บริษัทมีรายได้จากการขาย 3,116 ล้านบาท (1,307 ล้านบาท) +โรงแรม 56 ล้านบาท (-23 ล้านบาท) =รายได้รวม 3,172 ล้านบาท
อัตรากำไรขั้นต้น 40.47%
กำไรสุทธิ 517 ล้านบาท
EPS 0.26
สินทรัพย์ 4,883 ล้านบาท หนี้สิน 795 ล้านบาท (เป็นหนี้สัญญาเช่าตามทีเอฟอาร์เอส 16 เพิ่มขึ้น 261 ล้านบาท) ส่วนของผู้ถือหุ้น 4,089 ล้านบาท
สรุป: วิธีการประเมินมูลค่าแบบพีอี เป็นไปได้ไหมว่าบริษัทที่ถือว่ามีรายได้ที่มั่นคงและเติบโตราว +10% ต่อปี มันจะอยู่ได้ในช่วง 20 ถึง 30 เท่า เทียบกับพวกอาหาร ค้าปลีก หรือจะเป็นลักษณะ 10 กว่าเท่าตามพวกธุรกิจโรงงาน รับเหมาบางตัว อันนี้แล้วแต่คนเลย แต่ดูพีอีย้อนหลังได้ครับว่าตลาดให้เท่าไหร่คำนวณได้ง่ายมาก
ส่วนของปีนี้ลองคาดการณ์รายได้และกำไรคูณพีอีดู ในส่วนกำไรถ้าอยากลองคิดง่ายๆ ก็เอา 60 ถึง 80 ล้านบาท หักภาษี 20% (48-64ล้านบาท) + กลับไปในกำไรสุทธิปีที่แล้ว (แล้วหารครึ่งเพราะขายโรงแรมภายในเดือนมิถุนายน) รายได้ปีที่แล้ว + การเติบโต 10 ถึง 12% คูณกำไรของฝั่งรายได้จากการขาย ก็จะพอคำนวณอีพีเอสได้แล้ว สมมติไปอีกว่าการคาดการณ์ของบางโบรคที่ว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นได้อีก 30 ถึง 40% จากกัญชง ก็ลองคำนวณเป็นกำไรส่วนเพิ่มก็ได้แต่มันยังมีความเสี่ยงอยู่ว่าช่วงราคากัญชงกว้างมากเลยอาจจะคำนวณยากสักหน่อย
อย่าลืมเช็คปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะอยู่ที่ 20 กว่า % หน้าที่นักลงทุนคือเช็คว่าอย่างน้อยปีนี้ปีหน้าจะมีค่าใช้จ่ายพิเศษอะไรเพิ่มขึ้นไหม ถ้าไม่มีก็พอจะคาดการณ์การเติบโตของรายได้ส่วนนี้ 5% +/- ได้ โดยดาวจากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนทุกปีและค่าใช้จ่ายบางส่วนที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้
บริษัทมีแผนการกู้เงินไหมซึ่งจะทำให้เกิดดอกเบี้ย ในส่วนของภาษีก็อยู่ที่ 20%
ถ้าประมาณการรายได้และรายจ่ายอย่างชัดเจนจะทำให้การคำนวณตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น
Price per sale มูลค่าประมาณ 10 เท่าของยอดขาย (ในราคา 20 บาท x 2,000 ล้านหุ้น = 40,000 ล้านบาท)ลองดูรูปในลงทุนแมนแล้วเปรียบเทียบกับบริษัทระดับโลกดูครับ
เพื่อนเพื่อนคิดว่าราคานี้แพงไปหรือยังซื้อได้ครับ