Never Ending War สงครามไม่รู้จบ จะลงทุนกันอย่างไร

“Never Ending War สงครามไม่รู้จบ จะลงทุนกันอย่างไร” 

 

โดย อ. ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ

 

เมื่อวันที่ 08 มี.ค 65

 

 

        ในวีดีโอนี้ อ. ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ จะมาพูดคุยเรื่องราวให้ฟังแบบคร่าวๆ ถึงมุมมองต่อสงครามจากนี้จะเป็นอย่างไร ก็ได้แต่หวังว่ามันจะไม่บานปลายจนเป็นสงครามที่มันเหนือกว่าดินแดนยูเครน เชื่อว่าสถานการณ์สงครามรัฐเซีย – ยูเครน มันจะจำกัดวงอยู่แค่เฉพาะในยูเครน และที่ผ่านมาคาดการณ์ผิดพลาดตั้งแต่ต้นทาง เพราะเชื่อว่ารัฐเซียไม่น่าจะบุกยูเครน ซึ่งสิ่งที่รัฐเซียต้องเจอก็คือมาตรการคว่ำบาตรทางด้านเศรษฐกิจจะรุนแรงมากๆ เมื่อเทียบกับทุกๆประเทศที่เคยโดนในโลกนี้ ก่อนหน้านี้ใช้สมมติฐานว่าเขาไม่น่าจะแยกออกจากกันระหว่างปากท้องของประชาชนก็คือเศรษฐกิจกับเรื่องของความมั่นคงของประเทศ แต่ด้วยความที่รัฐเซีย

มองว่าถ้าไม่เข้าไปบุกยึด สุดท้ายแล้วมันจะสายเกินไปเมื่อยูเครนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนาโต้ หากให้เลือกระหว่างเจ็บน้อยและเจ็บมาก นั่นแปลว่ารัฐเซียแยกระหว่างเศรษฐกิจกับความมั่นคงของประเทศออกจากกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่ารอบแรกจะวิเคราะห์ผิดไป ก็ยังเชื่ออยู่ดีว่าสงครามจะจำกัดวงอยู่แค่ในยูเครน หลังจากโจมตีได้ไม่นานรัฐเซียได้ปล่อยให้ยูเครนอพยพคนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่สงครามแล้ว เมื่ออพยพได้ระดับนึงก็ได้เวลาที่จะโจมตีจนกว่ายูเครนจะยอม ซึ่งล่าสุดปูตินก็ได้ออกมายืนยันว่าจะคงปฏิบัติการทางทหารต่อไปจนกว่ายูเครนจะยอม เชื่อว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอีกครั้ง นั่นหมายความว่าเรื่องจะแรงแล้วก็จบ แน่นอนว่าตลาดหุ้นก็จะต้องลงอีก แต่ก็เป็นการลงเพื่อรอดีดตัว รอฟื้นตัว มันจะลงแล้วฟื้นเลย คิดว่าเราคงต้องอดทนรอให้สถานการณ์ไปถึงจุดเดือดนั้น ก็คือรัฐเซียถล่มยูเครนอีกรอบ ซึ่งยังไงยูเครนก็คงต้องยอมในรอบนี้

        ในการประชุมนาโต้ที่ผ่านมา Jens Stoltenberg  เลขาธิการนาโต้ได้คัดค้านในเรื่องของการประกาศเขตห้ามบินในยูเครน Stoltenberg ให้เหตุผลว่าวิธีการเดียวที่จะสกัดเครื่องบินรัฐเซียได้ ก็คือนาโต้ต้องเอาเครื่องบินเข้าไปยิงสกัดเครื่องบินรัฐเซียทั้งหมด นั่นก็หมายความว่าเป็นการนำนาโต้เข้าสู่สงคราม ซึ่งวัตถุประสงค์ของนาโต้ มีหน้าที่ในการปกป้อง 30 กว่าประเทศสมาชิกให้ปลอดภัย เพราะฉะนั้นการที่จะเอาเครื่องบินเข้าไปยิงสกัดเครื่องบินรัฐเซียในยูเครน จึงถือเป็นการทำให้  30 กว่าประเทศสมาชิกไม่ปลอดภัย เมื่อเกิดสงครามก็ทำให้มีการสูญเสีย ซึ่งนาโต้เองก็ไม่อยากให้เป็นแบบนั้นเพราะว่ายูเครนยังคงไม่ได้เป็นสมาชิกของนาโต้ ถัดมา 

Jens Stoltenberg  ได้พูดประโยคนึงที่ค่อนข้างใจร้ายพอสมควรว่า “เราไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งนี้” ก็แสดงว่านาโต้กำลังลอยแพยูเครน ซึ่งก่อนหน้านี้นาโต้ได้พยายามจะนำยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาโต้ นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาและ EU ได้ทำการพูดคุยกันและเริ่มหาทางลงให้ยูเครน ในกรณีที่ยูเครนต้องยอมแพ้อาจจะมีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นให้กับ Zelensky แล้ว 

 

 

         อย่างไรก็ดีอเมริกาได้เริ่มต้นมาตรการคว่ำบาตรที่ไม่นำเข้าน้ำมันจากรัฐเซีย ก็จะมีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่เล่นด้วย แต่ว่าทางฝั่งของยุโรปได้ออกมาปฏิเสธแล้วโดยเฉพาะเยอรมนี

ได้ออกมาบอกว่าทำได้ยาก เพราะไม่สามารถยกเลิกการนำเข้าน้ำมันจากรัฐเซียภายในข้ามคืนเพราะเขายังคงต้องพึ่งพาน้ำมันจากรัฐเซียอยู่ แต่อเมริกายังทำได้เพราะสามารถผลิตน้ำมันได้เอง มันจึงกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกาไม่เยอะเท่าไหร่ แต่ถ้าเราดูราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาก็ต้องเตรียมเจอกับเหตุการณ์เงินเฟ้ออยู่แล้ว เพราะว่าราคาเบนซินโดยภาพรวม บางพื้นที่ก็ราคา 5 เหรียญต่อแกลลอน ก็ประมาณ 45 – 46 บาทต่อลิตร และในบางพื้นที่ก็ประมาณ 4 เหรียญ ก็ประมาณสัก 40 บาทต่อลิตร โดยเฉลี่ยแล้วราคาเบนซินในสหรัฐอเมริกากำลังพุ่งขึ้นมา 3.6 เหรียญต่อแกลลอน หรือแปลงเป็นเงินไทยก็ประมาณเกือบ 40 บาทต่อลิตร ถัดมารัฐเซียได้ข่มขู่ หากยุโรปดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัฐเซียมากกว่านี้ รัฐเซียก็อาจจะตัดการส่งก๊าซใน Nord Stream 1 ซึ่ง  Nord Stream 1 เป็นท่อหลักในการส่งพลังงานจากรัฐเซียเข้าสู่ตะวันตกโดยผ่านเยอรมัน ซึ่งรัฐเซียก็ออกมาบอกไว้แล้วว่า  Nord Stream 1 ยังคงจ่ายก๊าซแบบเต็มกำลังอยู่ แต่ถ้าในอนาคตถูกยุโรปคว่ำบาตรมากกว่านี้ก็จะจำกัดการจำหน่ายก๊าซ ในส่วนมุมมองของราคาน้ำมัน ซึ่งเริ่มมีมุมมองแปลกๆออกมาว่าราคาน้ำมันกำลังจะตีโค้งขึ้นมาเป็นพาราโบลา การที่จะขึ้นไปยอดเดิมที่ 150 เหรียญ มันเป็นไปได้แต่มันยากที่จะผ่านได้ง่ายๆ เขาบอกว่าสถานการณ์ของปัจจุบันอยู่ที่ 120 เหรียญ มันก็ไม่ได้ต่างจากตอนปี 2008 พอน้ำมันขึ้นมาเยอะก็มีการคาดการณ์ว่าน้ำมันจะต้องไปที่ 200 เหรียญ หรือ 250 เหรียญ แต่พอขึ้นไปที่ 150 เหรียญแล้วคว่ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วน้ำมันขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply เรามานึกภาพหากสถานการณ์รัฐเซียและยูเครนจบไว ปัญหาเรื่อง Supply ก็จะบรรเทาลง แต่ตอนนี้ Demand ช้ำหนักเพราะตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังหดตัวยอยู่ จึงทำให้ฝั่งโอเปกต้องเร่งผลิตน้ำมันในช่วงนี้เพราะราคาน้ำมันกำลังสูงอยู่ เท่ากับว่า Supply กำลังจะออกมาเยอะ Demand กำลังจะหดตัว และก็ทำให้ไม่เกิน 150 เหรียญต่อบาร์เรลก็ได้ ซึ่งไม่รู้ว่ารอบนี้จะเป็นสัญญาณการคว่ำของน้ำมันไหมก็ต้องรอติดตามต่อไป

 

        หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/