ค่าเงินบาท
โดย ธีรภัทร เทวาเรืองทรัพย์
Trading Manager – SPC Precious Metal Co.,Ltd
สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน สิ่งที่นักลงทุนในช่วงนี้จะได้ยินบ่อยๆ ทั้งจากข่าวและจากที่มีคนพูดถึงกันเยอะ หลายคนอยากทำความเข้าใจกับคำๆ นี้ ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ “ค่าเงินบาท” และที่ช่วงนี้ทำให้ “ค่าเงินบาท” อ่อนค่าขึ้นคืออะไร? ดีหรือไม่ดี? มีผลอะไรกับเราบ้าง? และเราต้องรับมือยังไงกับภาวะของการอ่อนค่าของเงินบาท!!
ค่าเงินบาทคืออะไร
“ค่าเงินบาท” คือ จำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับเงินต่างประเทศ หรือเงินสกุลอื่นๆ โดยอัตราแลกเปลี่ยนที่นิยมนำมากำหนดมากที่สุดคือ “เงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)” แต่การเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ก็มีการทำอยู่บ้าง
“ค่าเงินบาท…อ่อน” คือ เงินบาทของเรามีค่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) ตัวอย่าง เมื่อ 3 เดือนที่แล้วเงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (USD) เทียบเท่ากับ 31.50 บาทไทย แต่วันนี้ เงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (USD) มีค่าเท่ากับเงินไทย 33 บาทเท่านั้น และนี่ก็แปลว่าค่าเงินบาทเราอ่อนตัวขึ้น เพราะเงินบาทมีค่าน้อยกว่ามื่อเรานำเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) ไปแลกเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้เราได้รับเงินไทยกลับมามากกว่าเดิม
สาเหตุของการเกิดค่าเงินอ่อนค่า
- เนื่องจากปัญหาการระบาดของ Covid-19 ในไทยยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การระบาดจะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งอาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน จากโมเดลคาดการณ์ยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดของทางรัฐบาลหรือภาคเอกชน
- ในระยะสั้น หากตลาดคลายกังวลปัญหาการระบาดของ Covid-19 ทั่วโลก และกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลง หลังผู้เล่นในตลาดไม่จำเป็นต้องถือสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) เพื่อหลบความผันผวนในตลาด ซึ่งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ก็อาจทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่าหนัก ทะลุ 33 บาทต่อดอลลาร์ไปมาก
สิ่งที่คิดว่าอาจจะเกิดขึ้น
หากเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า จะทำให้เม็ดเงินของนักลงทุนต่างต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทย มีผลทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลง ขณะเดียวกันการถือเงินบาทไว้ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ( ซึ่งผมได้เขียนไปในบทความก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวกับ FundFlow ของเงินทุน)
ต้องรับมืออย่างไร…เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่า?
ปกติแล้ว การที่เงินบาทอ่อนค่าขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้นำเข้าสินค้า เนื่องจากสินค้าที่เคยขายได้ในราคาหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในเวลาต่อมาเป็นช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าขึ้นก็ทำให้กำไรที่เคยได้ลดลง เช่น ผู้นำเข้ารายหนึ่งเคยนำเข้าสินค้าได้ในราคา 30 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ต่อมาเมื่อเกิดภาวะเงินบาทอ่อนค่าขึ้น ทำให้ผู้รายนี้ขายสินค้าได้เพียง 33 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ จึงเป็นเหตุทำให้ราคาในการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น หรือบางรายถึงขั้นขาดทุนกันเลยทีเดียว และหากภาวะค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวหรือเร็วกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ก็จะส่งผลต่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่เน้นต้นทุนสูงเป็นสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ผู้ส่งออกรายนั้นต้องปิดกิจการ คนงานตกงาน ดังนั้น การรับมือจากวิกฤตค่าเงินบาทอ่อนค่าในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจการนำเข้าจึงจำเป็นที่จะต้องให้ภาครัฐเข้ามาใช้มาตรการรองรับวิกฤตเหล่านี้ด้วย
แต่ในส่วนของประชาชนทั่วไป หรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ หากเกิดภาวะทางการเงินที่ไม่ปกติเกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็น “เงินบาทแข็งค่าขึ้น” หรือ “เงินบาทอ่อนตัวลง” เราจะต้องมีสติในการใช้จ่าย ไม่หลงไปกับภาวะดังกล่าว จะซื้อจะขายอะไรก็ต้องรอบคอบ ควรมีการเก็บออมเงินเพื่ออนาคต เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ไม่เดือดร้อน
เเล้วเราจะประโยชน์จากค่าเงิาบาทอ่อนค่าอย่างไร
ผมเลยมองว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าไปตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ ทำให้ธีมการลงทุนในธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาทยังน่าสนใจ นำโดยกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออก เพราะการอ่อนค่าของเงินบาทจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยถูกลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
- สำหรับหุ้นส่งออกในตลาดหุ้นไทยมีอยู่หลายกลุ่ม หลักๆ มีกลุ่มส่งออกอาหาร สินค้าเกษตร เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลา อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ไปจนถึงกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเวลานี้หากเทียบฟอร์มกันแล้วดูเหมือนว่ากลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ดูจะมีภาษีกว่ากลุ่มสินค้าเกษตร
- เนื่องจากช่วงนี้ราคาสินค้าเกษตรหลายๆ ชนิด ทั้งข้าว ยางพารา ผลไม้ต่างๆ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปรับตัวลดลง หลังมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ดูแล้วยังสดใส รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดีมานด์ในหลายกลุ่มสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แนะนำหุ้นเด่นในกลุ่มส่งออกที่จะได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า ได้แก่ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE, บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU, บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PM และบริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN (ที่มา: บล.โนมูระ พัฒนสิน)
ประเมินว่าเงินบาทที่อ่อนค่าขึ้นมาทุกๆ 1 บาท จะส่งผลให้กำไรสุทธิของกลุ่มเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น 1-3% และกำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 2-3%
อย่างไรก็ดีการที่ค่าเงินอ่อนค่ามีทั้งข้อดีเเละข้อเสีย เเต่เราจะใช้ประโยชน์จากเหตุการนี้อย่างไร มุมมองที่ผมมองตอนนี้ CASH IS KING. ขอให้ทุกท่านดุเเลสุขภาพด้วยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่บทความของผมครับ ฝากกด Like และ Share ให้ผมด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์ ขอบคุณมากครับ