เงินเฟ้อสำคัญฉไหน
โดย ธีรภัทร เทวาเรืองทรัพย์
Trading Manager – SPC Precious Metal Co.,Ltd
เงินเฟ้อคืออะไร?
เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ
ถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม แปลง่าย ๆ อีกแบบก็คือของแพงขึ้นนั่นเอง
เงินเฟ้อมันกระทบกับชีวิตเรามากมายขนาดไหน ลองคิดว่า เมื่อ20 ปีก่อนก๋วยเตี๋ยวเรือชามนึงมันราคาชามละ 2-3 บาทเองครับ เเล้วลองดูว่าเดี่ยวนี้อย่างต่ำก็มี 10-12 บาทเเล้วล่ะครับ นั้นเเปลว่า ก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารที่เรากินกันทุกวันเเพงขึ้น4-5 เท่าตัวในระยะเวลา 20 ปี
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ประการ คือ สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุปทาน
- สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ ได้แก่ การที่อุปสงค์มวลรวมสำหรับสินค้าและบริการมีมากกว่าอุปทานมวลรวมของสินค้าและบริการ เงินเฟ้อที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์สำหรับสินค้าบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น”-(Demand-Pull Inflation)
- สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุทาน ได้แก่ การที่อุปทานมวลรวมสำหรับสินค้าและบริการลดลง เนื่องจากแรงงานเรียกร้องเอาค่าแรงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง หรือผู้ผลิตต้องการกำไรสูงขึ้น จึงบวกกำไรเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง เงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากด้านอุปทานบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อจากแรงดันของต้นทุนที่สูงขึ้น”-(Cost-Push Inflation)
⚠️เงินเฟ้อกับเงินฝืดต่างกันอย่างไร⚠️
ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจท าให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ท าให้ลดก าลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจ ซบเซาในที่สุด จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตาม วัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของ ประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น
**ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุน
- รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง
- มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่ เพียงพอกับการยังชีพ อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ – 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝาก เงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนใน สินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยหากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจท าให้เกิดเป็น ภาระหนี้สินได้
- เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้ คนตกงานมากขึ้น
- ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออก ของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ
สถาวะเงินเฟ้อของสหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้าเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น
- ราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้น 4.2% ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในเดือนมีนาคมและนับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2551
- รายงานจากกระทรวงแรงงานสหรัฐมีขึ้นท่ามกลางความกลัวว่าราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้นอาจผลักดันให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- อัตราเงินเฟ้อซึ่งวัดอัตราที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้รับแรงกดดันจากราคารถยนต์และอาหารที่สูงขึ้นในเดือนเมษายน
- ราคารถยนต์มือสองเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในแต่ละเดือนนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก กระทรวงแรงงานกล่าวว่าคิดเป็นมากกว่า 1 ใน 3 ของการกระโดดโดยรวม
สรุปจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกของอาทิตย์ที่ผ่านมา
➤ อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ สูงขึ้นมาก จึงทำให้สินค้าโดยเฉพาะสินค้า Commodity; ทองคำ เงิน น้ำมันดิบ น้ำมันปาล์ม น้ำยางธรรมชาติ
???? น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 164.4% YOY
???? ทองคำ เพิ่มขึ้น 8.1% YOY
???? ทองเเดง เพิ่มขึ้น 100% YOY
???? น้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้น 115.3% YOY
➤ ตัวเลขผู้บริโภคพุ่งขึ้นกว่าปีก่อน สิ่งที่เห็นคือสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐภายใต้การนำโดยธนาธิบดีไบไดน โดยใช้พิมพ์เงินกระตุ้นเศรษฐกิจระบบ อย่างต่อเนื่อง นี้อาจเป็นสิ่งที่เป็นเเรงกระตุ้น เงินเฟ้อเเละผลพวงที่นักลงทุนควรพึ่งระวัง
➤ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นในสหรัฐ S&P , Nasdaq ยังถูกเทขายอย่างต่อเนื่องสอง วันทำการ
➤ สิ่งที่น่าสนคือ พันธบัตรรัฐบาล ของสหรัฐ Bond Yield ให้ผลตอบเเทนดี จึงทำให้ เกิด Fund Flow หรือ การเคลื่อนย้ายของเงินที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีกว่า ซึ่งผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับFund Flow ไว้เเล้วก่อนหน้านี้ Link:Facebook Page CsiSociety เขียนวันที่ 20 มีนาคม 2564) ลองอ่านดูครับ จึงทำให้มีเเรงขายในตลาดหุ้นมาเข้าตลาดพันธบัตร
ขอบคุณทุกท่านที่บทความของผมครับ ฝากกด Like และ Share ให้ผมด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์ ขอบคุณมากครับ