คำสอน Benjamin Graham สู่คำสอน Warren Buffett นำมาปฏิบัติได้จริง ช่วงวิกฤติตลาดหุ้น
คำสอน Benjamin Graham สู่คำสอน Warren Buffett นำมาปฏิบัติได้จริง ช่วงวิกฤติตลาดหุ้น
โดย อ. มนู สว่างแจ้ง
วันที่ 13/05/65
คำสอน Benjamin Graham ถึงแม้ว่าจะเก่าแก่แต่มันก็สามารถนำมาใช้ได้จริงกับช่วงวิกฤติตลาดหุ้น อยากให้ทุกท่านลองฟังดูอาจจะช่วยให้ทุกท่านกู้วิกฤติหรือพอร์ตของตัวเองให้มีอนาคตต่อไปได้ เริ่มต้นที่วิกฤติ covid-19 เปรียบเหมือนประเทศจีนหรือไทยก็ได้ ก็คือเศรษฐกิจซบเซาและประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าต่ำ ราคาสินค้าทั่วโลกเริ่มขึ้นราคาเนื่องจากมีปัญหาที่เกิดระหว่างรัฐเซียและยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น และราคาสินค้าก็สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีสงครามรัสเซีย – ยูเครน เมืองไทยก็เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ทางรัฐบาลก็พยายามที่จะเยียวยาประชาชนให้มีเงินจับจ่ายใช้สอย เมืองจีนตอนนี้ก็มีแผนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเศรษฐกิจซบเซา ก็จะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจ จะมี 2 เรื่อง คือ มาตรการกระทรวงการคลัง คือเอาเงินมาแจก และมาตรการการเงิน คือเอาเงินมาซื้อธนบัตรเข้าไปแล้วปล่อยให้กระแสเงินสดไหลเวียน หรือการลดดอกเบี้ยนโยบายและการปรับเพดานหนี้ของธนาคารทำให้ธนาคารสามารถปล่อยหนี้ประชาชนได้ง่ายขึ้น
กลับมาที่อเมริกากับมาตรการต่างๆที่รัฐบาล โจ ไบเดนทำก็กระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาให้กลายเป็นเศรษฐกิจที่ร้อนแรง มี GDP บวกขึ้นมา จึงเกิดเงินเฟ้อขึ้นมาอย่างรุนแรง เป้าโดยทั่วไปตั้งไว้ที่ 2% แต่อเมริกาตอนนี้พุ่งไปถึง 8.5% มันเกิดจากการกระตุ้นอย่างแรงของอเมริกาการเล่นยาแรงก็ทำให้เงินเฟ้อสูง เมื่อรัฐบาล โจ ไบเดนมาก็มีนโยบายที่จะชลอเศรษฐกิจร้อนแรงคือทำยังไงก็ได้ให้เงินเฟ้อลดจาก 8.5% ลงมาเหลือ 2% วิธีง่ายๆก็คือการขึ้นดอกเบี้ย มาตรการการเงิน พวกเราคงได้ยินมาบ้างแล้วว่าขณะนี้ Fed มีแผนที่จะขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันและทำ QT เมื่อมาถึงยุคของ Quantitative Tightening หมาายความว่า นโยบายการเงินแบบตึงตัวที่ธนาคารกลางจะดึงเงินที่เคยอัดฉีดไปก่อนหน้านั้นออกจากระบบการเงิน ด้วยการปล่อยให้พันธบัตรที่เคยซื้อมาผ่านการใช้นโยบาย QE และจำกัดเพดานดอกเบี้ย พวกเราจึงมีปัญหาคือพอขึ้นดอกเบี้ย ราคาหุ้นก็ตกปรับฐาน เงินก็ไหลเข้าอเมริกาทำให้ดอลลาร์ก็แข็ง ถ้า Inflation มันสูง ดูแนวโน้มนักลงทุนมีความรู้สึกว่ามันยากทำให้ช่วงนี้นักลงทุนทยอยขายหุ้น และหุ้นทั่วโลกปรับฐานหมดเลยซึ่งเป็นปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
Warren Buffett เขามีอายุ 82 ปี เขาเกิดมาในช่วงปี 1894 – 1976 ให้เราสังเกตุช่วงหนึ่งที่ Warren Buffett มีชีวิตอยู่มันเกิดวิกฤติหลายวิกฤติ มีช่วง 1946 คือช่วง Inflation ถึง 19.7% ตัว C, D, P หมายความว่าเกิด Inflation ที่เกิดจาก Cost Push และ Demand Pull และ Policy ณ ตอนนี้ 2022 เป็นครั้งเดียวในรอบ 90 กว่าปีที่ Inflation เกิดทีเดียวด้วย 3 สาเหตุพร้อมกัน เพราะฉะนั้นค่อนข้างจะเรื้อรังรุนแรง เพราะว่ามันเกิดจาก Covid – 19 มันเกิดจากมาตรการการเงินของอเมริกาและมันเกิดจากสงครามรัสเซีย – ยูเครน ที่ทำให้พลังงานหรือน้ำมันแพงขึ้น รวมถึงจีนก็ปิดเมืองอีกซึ่งจีนเป็นโลจิสติกส์ของโลก แต่ให้เราสังเกตดู ในชีวิตของ Benjamin Graham ในช่วง
1929 – 1932 เขาลงทุนขาดทุนย่อยยับแต่มาได้กำไรมหาศาลในปี 1940 – 1956 ซึ่งช่วงนี้ก็เหมือนกับช่วงที่เกิดวิกฤติ ราคาหุ้นมันถูกและซื้อหุ้นได้ถูก เมื่อถึงช่วงที่เศรษฐกิจดีขึ้น Benjamin Graham จึงได้กำไรมหาศาล ซึ่งก็อาจกลายเป็นโอกาสของนักลงทุนที่มาดูมูลค่าที่แท้จริงและดำเนินรอยตาม Graham และ Warren Buffett คือซื้อหุ้นโดยใช้ Margin of Safety เป็นตัววัดด้วยก็จะทำให้ Risk ของนักลงทุนต่ำลง
Intelligent Investor ไม่ได้หมายถึงคนที่มี IQ สูง แต่หมายถึงนักลงทุนที่มีความอดทน ความมีวินัย และความกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้ นอกจากนั้นนักลงทุนจะต้องควบคุมอารมณ์ และสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง เกรแฮมอธิบายว่า ความชาญฉลาดดังกล่าวจะเป็นไปในเชิงคุณลักษณะมากกว่าสมอง ในระหว่างนี้ก็เป็นโอกาสของนักลงทุนทั่วไป ที่จะได้เข้ามาเรียนรู้คอร์สต่างๆ และจะสามารถเข้าซื้อหุ้นที่คุณฝันและอยากได้มา เพราะในอดีตอาจจะไม่สามารถซื้อได้เพราะมันแพง แต่เมื่อมันปรับฐานมาแล้วมาอยู่ที่ Margin of Safety ลบ 50% ตามคำแนะนำของ Benjamin Graham เราก็เข้าลงทุน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นอาจจะได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าที่เราลงทุนก็เป็นไปได้
ในหนังสือ Intelligent Investor ภาคภาษาไทยได้เขียนไว้ว่า
- Intelligent Investor จะตระหนักว่าหุ้นมีความเสี่ยงมากขึ้น เมื่ราคาของมันเพิ่มสูงขึ้น และมีความเสี่ยงน้อยลงเมื่อราคาของมันลดต่ำลง Intelligent Investor ไม่ชอบตลาดกระทิงเพราหุ้นจะแพงขึ้น (Overvalue)
- ในทางกลับกัน (หากคุณมีเงินสดอยู่ในมือ เพียงพอต่อการใช้จ่าย) คุณควรจะยิ้มรับตลาดหมีเนื่องจากอยู่ในช่วงลดกระหน่ำ (Undervalue)
- จดจำให้ขึ้นใจว่า การสิ้นสุดของภาวะตลาดกระทิงไม่ใช่เป็นข่าวร้ายอย่างที่ทุกคนคิดกัน การลดลงของราคาหุ้นจะทำให้การลงทุนในหุ้นปลอดภัยและสมเหตุสมผลขึ้น
ผลตอบแทนที่ Defensive Investor (เชิงรับ) ควรคาดหวัง
- นักลงทุนควรจะแบ่งพอร์ตการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือตราสารหนี้คุณภาพสูงและหุ้นสามัญของบริษัทชั้นนำคือ 50:50
- เมื่อไนที่เหตุการณ์ในตลาดได้ส่งผลต่สัดส่วนนี้ในระดับ 5% ให้ปรับเปลี่ยนพอร์ตเพื่อสัดส่วนที่เท่าเทียมกันเอาไว้
- ผลตอบแทนที่จะได้คือ ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ (X%) ที่เสียภาษีและไม่เสียภาษี และเงินปันผลจากหุ้นสามัญดีๆ (X%) รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น (X%) เพราะผลกำไรที่ไม่จ่ายเงินปันผลนำกลับไปลงทุนเพิ่ม
- นอกจากนั้นหุ้นควรจะสามารถปกป้องการกัดกร่อนอำนาจซื้อจากภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงได้
แนวคิด Defensive Investor (เชิงรับ) ควรคาดหวัง
- ซื้อกองทุนรวมดีๆแทนการสร้างพอร์ตการลงทุนเอง
- ถ้ามีเงินลงทุนก้อนใหญ่ าจจะใช้บริการของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่มีชื่อเสียง
- นักลงทุนอาจจะใช้แนวทาง “Dollar- Cost Averaging” ซึ่งเป็นการซื้อหุ้นเป็นเงินจำนวนเท่าๆกันทุกเดือน หรือทุกไตรมาส การใช้วิธีนี้ทำให้ได้หุ้นจำนวนมากขึ้นเมื่อตลาดอยู่ในระดับต่ำและต้นทุนอยู่ในระดับเฉลี่ยที่น่าพอใจ
หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน
**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที
สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/