การสอนคอร์สเทคนิคการใช้กราฟพิชิตหุ้น ยามยุคเปิดเมือง โดย อ.พงศ์พัฒน์ ค้ำชู

10 ธ.ค. 64 VDO การสอนคอร์สเทคนิคการใช้กราฟพิชิตหุ้น ยามยุคเปิดเมือง 

 

โดย อ.พงศ์พัฒน์ ค้ำชู

 

 

          อ.พงศ์พัฒน์ ค้ำชู ได้บรรยายเทคนิคการใช้กราฟพิชิตหุ้น ยามยุคเปิดเมือง และสิ่งที่จะได้เรียนรู้ในวันนี้ก็คือการสังเกต Market Action ตอบรับข่าวกระแสการเปิดเมือง 2 รอบในปีนี้, Case Study หุ้นประมาณ 45 ตัว, บทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมานี้และการนำ Technical Analysis มาช่วย Timing ในการซื้อขายตาม Theme สำหรับตลาดปีที่ผ่านมาเราผ่านอะไรกันมาบ้าง จริงๆก็ถือเป็นปีที่ดีเพราะว่าตั้งแต่ต้นปีมันก็อยู่ที่ประมาณ 1,500 กว่า และตอนนี้ก็ขึ้นมาประมาณ 1,600 กว่าก็น่าจะเป็นปีที่ตลาดปิดบวกได้ แต่ความคึกคักของตลาดก็ต้องยอมรับว่ามันลดลง หลายๆคนพูดกันว่าครึ่งปีแรกเป็นช่วงที่ตลาดเล่นง่ายมากเพราะ Set เป็นภาพของขาขึ้นแบบชัดเจนแต่ในครึ่งปีหลังหลายๆคนเริ่มบ่นกัน เราจะเห็นว่า Set มีช่วงของขาลง และตลาดมีการผันผวนสูง

 

         

        ในปีที่ผ่านมานี้ คนส่วนมากจะเล่นหุ้นหลากหลายอารมณ์ นักลงทุนบางคนชอบเล่นหุ้นใหญ่ บางคนชอบเล่นหุ้นกลาง หรือบางคนชอบเล่นหุ้นเล็กและปีนี้ Performance ของหุ้นแต่ละแบบค่อนข้างที่จะต่างกันมาก ปกติเวลาพูดถึงหุ้นใหญ่เรามักจะนึกถึง SET100 และให้มองตรงเส้นสีเขียว จะเห็นว่า SET100 ปีนี้ จะมาร์คจุดเริ่มต้นไว้วันที่ 4 เดือนมกราคม 2564 มันให้ผลตอบแทนแค่ประมาณ 8.73% ก็จะเห็นว่ารีเทิร์นไม่ได้หวือหวามาก แต่คนที่เล่นหุ้นขนาดกลางและหุ้นขนาดเล็กได้รีเทิร์นค่อนข้างเยอะ เรามาดูตัวหุ้นขนาดเล็กก่อน หุ้นขนาดเล็กตัวแทนของมันก็คือ mai คือเส้นสีแดง เราจะเห็นว่า mai บวกไปถึง 66.48% ส่วนหุ้นขนาดกลางจะใช้ตัวแทนเป็นตัว sSET เป็นหุ้นที่ออกนอก SET100 แต่ยังอยู่ในตลาดของ SET Index อยู่ รีเทิร์นของมันก็ถือว่าโดดเด่นเหมือนกัน บวกไปอีกประมาณ 48% อาจจะไม่เท่ากับหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะหุ้นขนาดเล็กกว่า เมื่อถึงเวลาที่ตลาดปรับตัวขึ้น ความเสี่ยงมากกว่ามันจึงให้รีเทิร์นเยอะกว่า จะเห็นภาพเลยว่าปีนี้คนที่เล่นหุ้นขนาดใหญ่ รีเทิร์นจะไม่หวือหวาก็บวกแค่ประมาณ 8 – 10% แค่นั้นเอง เมื่อเทียบกับคนที่เล่นหุ้นเล็กหวือหวามากกว่าค่อนข้างเยอะอาจจะได้ถึงประมาณ 50 – 60% คนที่ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยอาจจะได้ถึง 100% อยากจะให้ทุกคนสังเกตว่ารีเทิร์นที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มันเกิดขึ้นในช่วงของครึ่งปีแรก สังเกตว่าครึ่งปีแรกหุ้นเล็กกับหุ้นกลางขึ้นเยอะมาก แต่ครึ่งปีหลังค่อนข้างที่จะเล่นยากขึ้น การที่ตลาดมันเริ่มเล่นยากขึ้น สิ่งนึงที่เราต้องคำนึงถึงคือเรื่องของความรู้ที่ต้องมีเพิ่มมากขึ้นและน่าจะกลับมาเป็นสิ่งที่สำคัญกับนักลงทุนอีกครั้ง

       

    กระแสการเปิดเมืองครั้งที่ 1 หุ้นทั้งหมด 36 ตัว เมื่อดูเป็นภาพของกราฟจึงสรุปเป็น

ผลลัพธ์ PHASE 1

  • ซื้อที่ราคาเปิดตัววันที่ 21/06/2021
  • ถือ 10 วัน ขายวันที่ 02/07/2021
  • ถือ 2 เดือน ขายวันที่ 20/08/2021
  • ถือ 3 เดือน ขายวันที่ 20/09/2021
  • ถือ 4 เดือน ขายวันที่ 20/10/2021

ผลลัพธ์ PHASE 1 : ถือ 10 วัน

  • กำไร 7 ตัว
  • ขาดทุน 29 ตัว
  • ขาดทุนเฉลี่ย -3.19% ต่อ 1 ตัว

ผลลัพธ์ PHASE 1 : ถือ 2 เดือน

  • กำไร 5 ตัว
  • ขาดทุน 30 ตัว
  • เท่าทุน 1 ตัว
  • ขาดทุนเฉลี่ย -6.08% ต่อ 1 ตัว

ผลลัพธ์ PHASE 1 : ถือ 3 เดือน

  • กำไร 9 ตัว
  • ขาดทุน 27 ตัว
  • ขาดทุนเฉลี่ย -2.24% ต่อ 1 ตัว

ผลลัพธ์ PHASE 1 : ถือ 4 เดือน

  • กำไร 16 ตัว
  • ขาดทุน 28 ตัว
  • เท่าทุน 2 ตัว
  • กำไรเฉลี่ย 0.59% ต่อ 1 ตัว

จากข้อมูลสรุปผลลัพธ์ PHASE 1 ซึ่งเป็นตัวย่างการลงทุนที่หากเราไม่มีแผนการเล่นที่ดีมากพอ

 

เรามาดูกระแสการเปิดเมืองครั้งที่ 2 หุ้นทั้งหมด 10 ตัว เมื่อดูที่ตลาดจะเห็นว่ามีกระแสข่าวการเปิดเมืองครั้งที่2 ตลาดก็ย่อลงแต่ไม่ได้ลงแรงเหมือนรอบแรก

ผลลัพธ์ PHASE 2

  • ซื้อที่ราคาเปิดวันที่ 14/10/2021
  • ถือ 10 วัน ขายวันที่ 27/10/2021
  • ถือ 1 เดือน ขายวันที่ 13/11/2021

ผลลัพธ์ PHASE 2 : ถือ 10 วัน

  • กำไร 3 ตัว
  • ขาดทุน 7 ตัว
  • ขาดทุนเฉลี่ย -1.58% ต่อ 1 ตัว

ผลลัพธ์ PHASE 1 : ถือ 1 เดือน

  • กำไร 8 ตัว
  • ขาดทุน 2 ตัว
  • กำไรเฉลี่ย 3.13% ต่อ 1 ตัว

บทเรียนที่ได้ “การซื้อขายตามกระแสหรือ Theme โดยอย่างเดียวไม่เพียงพอ ควรมีการใช้ Technical Analysis มาช่วยจับสัญญาณด้วยเสมอ”

TECHNICAL TOOL & TECHNIQUES

TOOL

  • SMA-20 – บอกแนวโน้มในระยะสั้น
  • SMA-200 – บอกแนวโน้มในระยะยาว
  • RSI – เพื่อวัดความแข็งแรงของ Momentum

TECHNIQUES

  • SMA-20 >> Pullback to SMA-20
  • SMA-200 >> Pullback to SMA-200, Trend Change
  • RSI >> Convergence, Divergence

 

      ยกตัวอย่าง เราจะแบ่งเป็น 2 ส่วน เมื่อดูจาก Chart จะมีส่วนบนที่เป็นราคาและส่วนล่างเป็น RSI เวลาดูควรจะดูทั้งสองอย่าง สมมตราคามันขึ้น RSI มันก็ควรจะขึ้นเช่นกัน ถ้าเราเห็นเหตุการณ์แบบนี้เราจะเรียกมันเป็นลักษณะของ Convergence หรือในอีกกรณีหนึ่ง สมมตเราเห็นราคาปรับตัวขึ้นหรือมีการทำ Higher High แต่ว่า RSI เกิด Lower High แบบนี้เราจะเรียกว่าเป็นลักษณะของ Divergence ที่กล่าวมาถือเป็น Concept ง่ายๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้ เวลาที่ราคามันขึ้น RSI ขึ้นตาม ไม่มีสัญญาณอะไรที่เราต้องระวังแต่ถ้าเกิดราคาขึ้นแต่ว่า RSI ไม่ขึ้น แบบนี้เป็นสัญญาณของการต้องเฝ้าระวังแล้ว 

       หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/