บาทแข็งลึกสุดใจ จะแข็งไปอีกมากแค่ไหน และหุ้นไทยไปต่อถึงที่ใด

บาทแข็งลึกสุดใจ จะแข็งไปอีกมากแค่ไหน และหุ้นไทยไปต่อถึงที่ใด

 

โดย อ. ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ

 22 ก.พ. 2022

 

 

 

          ค่าเงินบาทมีการดีดกลับขึ้นมาแถว 32.5 % แล้ว รอบแข็งค่าดุตั้งแต่ปลายมกราคมแข็งมาเรื่อยๆ จนสุดรอบนี้คือกลางเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 32.07 % ที่จริงแล้วการแข็งค่ารอบนี้มีคำอธิบายได้ ซึ่ง อ.ปิง มองว่าเรื่องของเงินบาทแข็งค่าคาดการณ์ได้ได้แต่ตอนต้นปีแล้ว ถ้ายังจำได้ตอนต้นปีเคยเล่าให้ฟังหลายครั้ง เขียนบทความด้วยว่าถึงเวลาของเงินบาทแล้ว เนื่องจากว่าปีที่แล้วอ่อนค่าทั้งปี ปีนี้พื้นที่ในการแข็งค่าเยอะ ไม่ใช่บาทไทยที่แข็งค่าอย่างเดียว จริงๆ แล้วมีสกุลเงินอย่างอื่นที่แข็งค่าด้วย สกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียส่วนใหญ่ก็แข็งค่าเนื่องจากว่ามันมี Flow เข้า แต่ Flow เข้าในที่นี้จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปี YTD เข้ามาที่ประเทศไทย 2 พันกว่าเหรียญ รองจากประเทศญี่ปุ่นแต่เอาแน่เอานอนไม่ได้แม้ว่า Flow จะเข้าแต่ตอนนี้ค่าเงินเยนอ่อนอยู่ ภาพที่ปรากฏชัดว่าตั้งแต่ต้นปีมี Flow เข้ามาที่ประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย จะพบว่าเข้ามาในประเทศไทยดุๆ คือเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์เป็นหลัก เทียบเท่ากับที่เข้าเกาหลีใต้แต่ว่ารวมแล้วทั้งปีเราดูดีที่สุดในเอเชียซึ่งสอดคล้องกับค่าเงิน 

 

เงินบาทปีที่แล้วมีการอ่อนค่าค่อนข้างหนักอยู่ที่ประมาณ 10% สาเหตุของการอ่อนค่าหลักๆ คือ  

  1. ประเทศไทยเจอกับภาพของการขาดดุลแฝด การขาดดุลแฝดคือการขาดดุลงบประมาณขนาดใหญ่ เก็บภาษีได้น้อยแต่ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ค่าจ่ายเยอะมาก จ่ายมากกว่ารับนี่คือการขาดดุลงบประมาณประเทศครั้งใหญ่ของปีที่ผ่าน อาจเนื่องมาจากสถานการณ์ COVID-19 
  2. การขาดดุลงบประมาณ การขาดดุลงบประมาณเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจโลก ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการชะงักงานการส่งออก ช่วงแรกอาจจะแย่หน่อยช่วงหลังอาจจะมีการส่งออกที่ดีขึ้น แต่ว่าตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเกิดจาการดุลการค้าบวกด้วยดุลบริการ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกิดขึ้นเพราะดุลการบริการติดลบเยอะ ดุลบริการส่วนใหญ่แล้วเป็นเหมือนเวลาเราต้องมีการทำธุนกรรมการโอนเงิน การจ่ายค่าบริการหรือจ่ายอะไรก็ตามแต่ที่ไม่ได้เป็นสินค้า ต้องมีการคิดดุลเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา แน่นอนว่าดุลบริการของเราก็ต้องติดลบค่อนข้างเยอะพอเอามาบวกกับดุลการค้าแม้ว่าจะเกินดุลแต่ก็ไม่เพียงพอทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2 อย่างนี้ก็เปรียบเสมือนกับงบพัง ก็คืองบประมาณประเทศขาดหนัก ดุลบัญชีเดินสะพัดก็ขาดดุลเยอะบากก็เลยอ่อนค่า มีการประมาณกันว่าปีนี้เราจะพลิกโฉมกลับเข้ามาเราน่าจะขาดดุลงบประมาณน้อยลงและดุลบัญชีเดินสะพัดเราอาจจะพลิกกลับมาเป็นเกินดุลเหตุผล

 

          การคาดการณ์ GDP ปีนี้ของแบงค์ชาติประเมินอัตราการขยายตัวล่าสุดปรับอยู่ในกรอบประมาณ 3.4 % อาจจะมีการปรับเพิ่มขึ้น มีการตั้งสมมติฐานว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนในปีนี้ สิ่งที่จะตามมาคือดุลบัญชีเดินสะพัดจากเดิมที่เคยขาดดุลถึง 1 หมื่นล้านเหรียญ ปีนี้ก็จะกลายเป็น 1.5 พันล้านเหรียญ นี่คือเหตุที่ว่าปีนี้อาจจะเป็นผลที่ทำให้บาทแข็งค่าขึ้นได้ ภายใต้เรื่องของการรีสตาร์ท ภายใต้เรื่องของการที่โดยภาพรวมประเทศอยู่ในช่วงของการเปิดเมือง แม้ว่า COVID-19 จะกลับมาระเบิดอีกครั้งหนึ่ง ประมาณเดือน 3 – 4 เราน่าจะปรับตัวกับ COVID-19 ได้ ธีมของการเปิดเมืองจะเด่นชัดมากขึ้น ภาพของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็จะเบาลงถ้าเป็นแบบนี้ต่างชาติก็จะเข้ามาเก็งเงินบาทได้เพราะปีแล้วอ่อนเยอะปีนี้ก็เลยเป็นเป้า

 

 

          ด้านของตราสารหนี้ ตั้งแต่ต้นปีมีเงินเข้ามาในตราสารหนี้ไทยเยอะมาก จะพบว่าตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วเงินเข้ามาทั้งในตราสารหนี้ทั้งระยะยาวและระยะสั้น แต่จะพบว่าเวลาเงินเข้ามาในตราสารหนี้ระยะยาวไม่ได้มีผลต่อเงินบาท แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ค่าเงินบาทมีการแข็งค่า ซึ่งเกิดจากเงินเข้ามาในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลักมากกว่า ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์จนถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีเงินเข้ามาในตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมดอยู่ในราวๆ ประมาณทั้งหมด 6 หมื่นล้านบาท แต่ตราสารหนี้ระยะยาวมีเพียงแค่ 7 พันล้าน 

          หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/