KT-Finance “Kingpin” ดอกเบี้ยขาขึ้น

“KT-Finance “Kingpin” ดอกเบี้ยขาขึ้น”

 

 

By อาจารย์ ณัฏฐะ มหัทธนา

 

          ในเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้จะเห็นว่า กลุ่มการเงิน (Financial Sector) ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีผลดำเนินงานน่าประทับใจแบงก์ใหญ่ไตรมาส 3 โตดีกว่าที่คาด ทั้ง JPMorgan / Bank of America / Morgan Stanley / Goldman Sachs ด้วยปัจจัยขับเคลื่อนสนับสนุนการลงทุนหุ้นกลุ่มบริการด้านการเงิน (Financial Services) ผ่านกองทุน KT-FINANCE เพื่อรับการเติบโตระยะยาว (Secular growth) และโอกาสระยะสั้น (Cyclical opportunities) จากหลายธีมการลงทุน

           Mothership หรือ ยานแม่ ที่เกิดขึ้นในบ้านเราเป็นการย้ำเตือนว่าแนวโน้มระยะยาวที่ใหญ่โตกว่านี้คือการที่การเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจรุ่นเก่า ไปสู่ธุรกิจรุ่นใหม่ (New economy) เกิดขึ้นและถูกเร่งด้วย Covid-19 การเงินก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด

 

 

          Fidelity Funds – Global Financial Services Fund (กองทุนหลัก KT-FINANCE) มีลักษณะสำคัญคือ 

  1. มีกลยุทธ์การลงทุนเป็นการผสมผสานระหว่างการเลือกหุ้นด้วยวิธีวิเคราะห์รายบริษัท (Bottom-up) กับการวิเคราะห์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Top-Down) 
  2. ลงทุน 55-75 บริษัทจากหุ้นทั่วโลกมากกว่า 1,000 บริษัท 
  3. กรอบระยะเวลาลงทุนประมาณ 2-3 ปี 
  4. ซื้อหุ้นในราคาต่ำเมื่อเทียบกับมูลค่าแท้จริง (Attractive Valuation) และซื้อขายหุ้นตามราคาเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Price targets) 
  5. ผู้จัดการกองทุนมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้ลงทุน โดยค่าตอบแทนของผู้จัดการกองทุนขึ้นกับผลดำเนินงานกองทุนรวมหลัก

 

          ในส่วนของสาระสำคัญของปัญหาห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) และประเด็นความเสี่ยงในตลาดคือ เศรษฐกิจจีนพยายามลดการพึ่งพาอสังหาฯ แล้วมุ่งสู่การบริโภคต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ไม่ราบรื่น Evergrande เป็น junk ตั้งแต่แรกต่างจาก Lehman ซึ่งเป็น investment grade จนถึงไม่กี่วันสุดท้ายก่อนล้ม ดังนั้น Evergrande จึงค่อยๆล้มแบบ slow motion กระทบตลาดการเงินน้อยกว่าเศรษฐกิจจริงรัฐบาลจีนมีความสามารถและจำเป็นต้องช่วงประคอง และสหรัฐไม่น่าผิดนัดชำระหนี้เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายใด ทางด้านยีนด์พันธบัตรปรับตัวขึ้นกดดันตลาดภาพรวม แต่ส่งผลดีต่อกำไรของบริษัทในภาคการเงิน

 

 

แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐปี 2022 มองว่า 

  • Covid-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) และปัญหาซัพพลายถ่วงเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่พอสถานการณ์คลี่คลาย ในอนาคตก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยสนับสนุกการเติบโตสำหรับปีหน้า 
  • การออมส่วนเกิน (Excess saving) สูงมากในสหรัฐและทั่วโลก รวมทั้งสิ้นราว $6 ล้านล้าน ความมั่งคั่งของผู้บริโภคในสหรัฐเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 2 หลัก หนี้บริโภคต่อ GDP ลดลงมาจากช่วงวิกฤตการเงินโลก 
  • กำไรบริษัทเติบโตตามเงินเฟ้อโดยธรรมชาติ (nominal growth) อำนาจกำหนดราคา (pricing power) สูงสุดในรอบหลายทศวรรษช่วงชดเชยผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

 

นโยบายการเงินของเฟด พบว่ายังคงผ่อนคลายกว่าปกติอีกไม่นาน 

  • ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบเยอะราวๆ -1% และยังคงอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายต่อไปเพราะ QE tapering ทว่าจะจบก็ประมาณกลางปี 2022 ระหว่างนี้งบดุลของเฟดยังคงขยายตัว 
  • ดอกเบี้ยคงเริ่มขึ้นปลายปี 2022 กว่าจะถึง 2% (เท่าเป้าเงินเฟ้อทำให้ดอกเบี้ยแท้จริงไม่ติดลบ) น่าจะใช้เวลาถึงปี 2024 
  • เศรษฐกิจมักตามหลังนโยบาย 12-18 เดือน ผลกระทบจากนโยบายการเงินปกติ กว่าจะเห็นก็ราวๆ ปี 2025-2026 
  • ยิ่งผ่อนคลายนานเศรษฐกิจยิ่งเสียสมดุล เฟดควรเริ่มลด QE ให้ไวในการประชุม FOMC เดือนพฤศจิกายน

 

          แนวคิดและสมมติฐานหลักที่ใช้บริหารกองทุนคือ เลือกบริษัทที่แข็งแกร่งด้วยปัจจัยขับเคลื่อนเฉพาะตัว ภาคการเงินโดยรวมอยู่ในฐานะดี เพราะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจขยายตัว คุณภาพสินเชื่อดี สินทรัพย์ราคาขึ้นจากกำไรเติบโตและได้เปรียบเหนือ sector อย่าง industrials / materials ซึ่งเผชิญปัญหาซัพพลาย แม้สินเชื่อยังโตช้าแต่จะค่อยๆ มาตามเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยและยีนด์พันธบัตรยังต่ำเกินไปและมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเป็นปัจจัยหนุนกลุ่มการเงิน (Financial Sector)

 

          ธีมการลงทุนของกองทุนรวมหลัก

 

 

 

 

 

หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/