เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ รับปีเสือหมอบ

เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ รับปีเสือหมอบ

 

By : ดร. อมรเทพ จาวะลา

 

 

 

          ในหัวข้อ เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ รับปีเสือหมอบ ดร. อมรเทพ ชวนคิดว่าก่อน สถานการณ์ตอนนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง และเปลี่ยนจากเดิมเยอะแค่ไหน มีอะไรที่ต้องติดตามบ้าง อย่างแรก เรานึกถึงสมมติฐานก่อนว่า เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือ โอไมครอน (Omicron) จะกระทบกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจปีหน้าแค่ไหน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในมุมมองเศรษฐกิจไทยกำลังทยาน แต่ในระวังความเสี่ยงเรื่องการระบาดรอบใหม่ให้ดี ซึ่งอาจโดนผลกระทบได้ 

อย่างแรกนักลงทุนตกใจ อะไรที่เรียกว่า unknow หรือความไม่แน่นอน คนก็จะเริ่มเทขายสินทรัพย์เสี่ยงไว้ก่อน มีการป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อนถึงแม้จะไม่รู้ว่าคืออะไร กลัวว่าจะไปเหมือนกับ Covid-19 รอบแรก ซึ่งอาจจะเป็นภาพที่คนกำลังกังวลกันอยู่ ดร. อมรเทพ แนะนำว่าให้รอดูก่อน ตลาดที่ลงมาตอนนี้ อาจจะมองภาพด้วยซ้ำว่าภาวะเศรษฐกิจที่เรามองว่า เศรษฐกิจโลกเป็นอย่างไร เราก็มองปีหน้าเศรษฐกิจโลกก็ยังเติบโตอยู่ สหรัฐโตได้ 5% จีนโตได้เฉียด 6% ดร. อมรเทพ ก็ยังมองว่า เศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตได้ดี และยังมองภาพเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้น่าจะสนับสนุนการส่งออกของเรา ให้การส่งออกของเรายังไปได้ ยังไม่น่ากังวลขนาดนั้น และมองภาพการเปิดเมืองเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่

 

          มุมมองเศรษฐกิจไทยปีหน้า รับปีเสือหมอบ ดร. อมรเทพ ยังมองว่า ประเทศไทยไม่ใช่ Sick man of Asia ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจ GDP โตต่ำสุดในภูมิภาค แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย แต่ว่าไม่ใช่ซะทีเดียว ประเทศไทยแค่ขาดโอกาสเท่านั้น ดูเหมือนกับว่าศักภาพของเรายังขาดโอกาสที่อำนวยให้เราสามารถก้าวกระโดดได้ ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้ วัคซีนปีนี้ก็ยังไม่มีเต็มที่ ก็เลยทำให้ยังดูหยุดชะงักในจุดนี้ แต่มองต่อไปว่าถ้าโอกาสไปได้ ปัจจัยเหล่านั้นจะเป็นปัจจัยที่สนัสนุนจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ 1.การส่งออก 2.การท่องเที่ยว และ 3.กำลังซื้อระดับกลาง-บน ทั้ง 3. อย่างนี้เป็นปัจจัยหลัก  

 

          ปัจจัยที่ 1 การส่งออก ยังคงเติบโตได้เพราะว่าตลาดโลก สหรัฐยังโตเฉียด 5% จีนโต 5% ยุโรปก็ยังโตได้ดี ญี่ปุ่นก็ยังพอไปได้ อาเซียนก็ยังตอบรับ เพราะฉะนั้นการส่งออกในปีหน้า ดร. อมรเทพ ยังเชื่อว่าโอกาสยังเติบโต 4.7% หรือ เฉียด 5% ยังเป็นไปได้อยู่สำหรับการส่งออกของประเทศไทย ซึ่งการส่งออกที่ดีนำไปสู่การผลิต แต่อย่าลืมว่ากำลังการผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่สูง แต่ในไตรมาส 3 ลดลงตอนเดลต้าระบาด ส่งผลให้ผู้คนคิดว่า จะมีการปิดโรงงาน กำลังการอาจจะผลิตแย่  GDP อาจชะลอ ซึ่งผลปรากฏออกมาว่าไตรมาส 3 GDP ติดลบเพียง 0.3% เป็นฝั่ง Demand ที่ชะลอ แต่ภาคการผลิตไม่ดีลดลง มี  inventory ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการสนันสนุนเศรษฐกิจได้ดี และพอมองต่อไปเรื่องกำลังการผลิตที่ขยับมากขึ้น ภาคอุตสาหกรรมขยับได้ เศรษฐกิจโลกฟื้นฟู ภาคการผลิตก็ดี non farm income ก็ไปได้ เพราะฉะนั้น non farm income ไปได้กำลังซื้อก็มี ตรงนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ในส่วนสินค้าเกษตรปีหน้าก็ยังถือว่าดี ทางด้านกำลังซื้อก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้ามองภาพรวมจะเห็นได้ว่าการส่งออกยังดูได้ รวมทั้งเครื่องยนต์ต่างๆ แต่ตัวหลักคือการส่งออกที่จะเห็นการเชื่อมโยงกับตัวอื่นๆ 

          ปัจจัยที่ 2 การท่องเที่ยว ในปีหน้านักท่องเที่ยวมีโอกาสมา 5.1 ล้านคน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ดร. อมรเทพ มองว่าเป็นโอกาสที่จะสนันสนุนเศรษฐกิจไทย แต่ถ้าจะให้กลับไปเป็นเหมือนเดิมคงจะอีกนาน แต่ว่าอย่างน้อยก็ยังเป็นการประคองสถานการณ์ได้ดี 

          ปัจจัยที่ 3 กำลังซื้อระดับกลาง-บน ในวันนี้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยคนมีเงิน สภาพคล่องในระบบล้น ผู้คนยังไม่ค่อยใช่จ่าย และยังคงขาดขาดความเชื่อมั่น ซึ่งถ้าเรารอว่า ถ้ากำลังซื้อระดับกลาง-บน สามารถที่จะมีความเชื่อมั่นได้ คนกล้าที่จะใช้จ่าย รับรองว่าตรงนี้จะเป็นแรงสนันสนันเศรษฐกิจไทย ในวันนี้ตัวที่ฟื้นสำหรับการบริโภค อาหาร เครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ สินค้าเล็กๆ น้อยๆ ทั่วไป แต่ถ้ามองต่อไปกลุ่มคงทนจะเริ่มดีขึ้น 

 

          3 อย่างนี้  ดร. อมรเทพ มองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่เรียนว่าเสือหมอบพร้อมกระโจนไปข้างหน้า สำหรับปี 2565 แต่ยังคงต้องระวังเสือร้ายอีกตัวที่ต้องดักซุ่มที่อาจจะคอยขัดจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย 

 

          ปีหน้ามอง GDP ปรับขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อน แต่เดิม 3.2% ปีหน้ามอง 3.8% โอกาสเฉียด 4% มีความเป็นไปได้จากปัจจัย ตัวเสือหมอบ มีโอกาสฟื้นเศรษฐกิจชัดเจน แต่เสือร้ายอีกตัวที่อาจจะทำให้ GDP ไทยโตไม่ได้ตามเป้าหมาย ความเสี่ยงที่ต้องจับตามองมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.โควิดรอบใหม่ 2.สงครามการค้า และ 3.เงินเฟ้อ

 

          ความเสี่ยง 1 โควิดระบาดรอบใหม่ รอบนี้โรงแรมยังเต็ม คนยังวางแผนการท่องเที่ยวกันอยู่ จะให้เหตุผลเรื่อง โอไมครอน ไม่ได้เพราะได้รับวัคซีนบ้างแล้ว ในวันนี้ไม่ได้กลับไปล็อกดาวน์เหมือนเดิม ซึ่งมันคงจะยากถ้ากลับไปล็อกดาวน์เหมือนเดิม คนระมัดระวังในการใช้ชีวิตมาขึ้น คนได้รับวัคซีนมีมากขึ้น เพราะฉนั้นถ้าจะเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแต่ไม่ใช่การล็อกดาวน์ แต่น่าจะเกิดจากการจำกัดบางพื้นที่ การจำกัดของกลุ่มคนที่เสี่ยง คนที่ไม่ได้รับวัคซีนครบหรือคนที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุมากกว่าที่จะเป็นการปิดทั้งหมด 

          ความเสี่ยงที่ 2 สงครามการค้า มีเรื่องความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ ที่จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐ และในปีหน้าจีนไม่ได้แค่เกินดุลการค้าสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างเดียว แต่ปีหน้าจีนจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับทั่วโลกสูงมาก สาเหตุที่เกินดุลเยอะเนื่องจากว่า การส่งออกยังดีสำหรับจีนนำเข้าเองจีนก็ยังมีอยู่ แต่เกินดุลอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อเศรษฐกิจจีนดี ปกติจีนจะส่งนักท่องเที่ยวออกไปต่างประเทศเยอะ เกินดุลการค้าก็จริง แต่ว่าดุลบริการจะขาดดุล และดุลบริการที่ขาดเยอะก็มาจากเรื่องของการท่องเที่ยว มีการท่องเที่ยวในประเทศใช้ของมีประเทศเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในเป็นนโยบายของจีน ซึ่งอาจจะฟังดูสวยหรูแต่จริงๆ อาจเป็นการพยายามกีดกันเหมือนกัน สหรัฐก็จะกดดันตรงส่วนนี้สำหรับจีน

          ความเสี่ยงที่ 3 เงินเฟ้อ ประเทศไทยเงินเฟ้อเพิ่งออกมาล่าสุดลดลง หรืออาจเรียกได้ว่าชะลอตัว มีเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้อัตราที่เร่งแรง และในส่วนของ coin inflation ต่ำมากๆ อัตราเงินเฟ้อเร่งมีสาเหตุมาจากพลังงานที่ย่อลงมา ราคาน้ำมันที่ย่อลง ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเห็นว่าเรื่องของเงินเฟ้อต่อไปอาจจะไม่ได้เร่งแรง แต่จะต้องมองต่อไปว่าเงินเฟ้อสหรัฐอาจจะไม่ได้ชั่วคราวอย่างเรา แต่เป็นชั่วคราวที่ลากยาวกว่าที่คาด

 

หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/