อัพเดตแนวทางการใช้งานเปเปอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคกับหลักทรัพย์ Pi และ DW28

อัพเดตแนวทางการใช้งานเปเปอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคกับหลักทรัพย์ Pi และ DW28

 

โดย อ. เดชธนา ฟางสะอาด

ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์รายย่อย บล. พาย จำกัด

เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 65

 

 

          มีอัพเดตนิดนึงสำหรับเปเปอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ใช้งานกันมาระยะนึงแล้วเป็นจำนวนหลายเดือน หลายปี เพราะฉะนั้นพอถึงจุดๆ หนึ่งทางหลักทรัพย์ Pi ปกติก็จะมีการอัพเดต เนื่องจากว่าเราจะมีลักษณะของการปรับปรุงเทคนิค หรือในลักษณะของการสื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือให้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น วันนี้เลยจะมาไกด์ก่อน ก่อนที่ตัวเปเปอร์ตัวเต็มจะออกมา เพราะฉะนั้นเราจะมาเตรียมตัวและมาทำความเข้าใจกับหลักการ และแนวคิด แนวคิดทั้งหมดจะเหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา สำหรับท่านที่ติดตาม Live ทรัพย์ Pi อยู่แล้วเป็นประจำก็อาจจะคุ้นเคยกับศัพท์บางศัพท์

        ในทุกๆ วันเราก็จะมาสรุปให้ทุกคนทราบว่าแต่ละวันจะเป็นการออก แอคชั่น ด้านไหน เป็นความเห็นของตัว อ. เดชธนา เอง เช่น วันนี้แนะนำให้ถือ Put เพราะเราเป็นลักษณะของการที่ให้ออกออเดอร์ Put ตั้งแต่วันก่อน ถ้าเป็น diraction เดิมเราจะคงเป็นลักษณะให้ถือ ถ้าเป็นลักษณะของการกลับฝั่ง เราก็จะออกออเดอร์ให้กลับฝั่ง เปลี่ยนเป็นซื้ออย่างอื่น แต่บางทีการที่บอกว่าซื้อ , ถือ หรือ กลับฝั่ง บางทีไม่ครบถ้วน เพราะฉะนั้นจึงอยากให้เข้าไปอ่านในส่วนของรายละเอียดด้านใน 

        สิ่งที่เราจะเปลี่ยน จะมีอะไรบ้าง ?

        อันดับแรกเราเริ่มด้วยคำแนะนำ ซื้อ ถือ ซื้อก็จะมีซื้อฝั่ง Put หรือ ฝั่ง Call ถือก็จะมีถือฝั่ง Put หรือ ฝั่ง Call แล้วก็กลับฝั่งกันไปมา โดยบางครั้งก็อาจจะมีเงื่อนไข เช่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทำ New Low หรือ ถ้าหลุด Low เป็นต้น เปเปอร์จะออกตามเวลาที่กำหนดเพราะฉะนั้นวันที่เปเปอร์ออกจะสิ้นสุดแค่ตรงนั้น หลังจากที่เปเปอร์ออกไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น มีข่าวสารเป็นแรงกระทำทางฝั่งซื้อ ฝั่งขายที่กลับทิศอย่างรวดเร็ว หรือผันผวนรุนแรง ตรงนี้ถ้าอยู่หน้างานให้ระมัดระวัง

 

        จุดแรก กรอบการเทรด คือ ระยะของกรอบราคาขอบเขตในช่วงปัจจุบันที่ราคาอาจจะสวิงได้ กรอบการเทรดในเปเปอร์ชุดใหม่จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมาก โดยที่กรอบการเทรดปกติจะอิงระยะที่กว้างพอประมาณเวลาที่เจอแนวโน้มสักชุดนึง  สามารถใช้เครื่องมือ Heikin-Ashi ใช้ในการดูลักษณะของการเคลื่อนไหวของราคา หลังจากนั้นก็ประเมินกรอบการเทรด

 

 

        แนวรับ-แนวต้าน ต่อไปจะใช้คอนเซ็ปต์โดยการหาจุดกลับตัวที่สำคัญ ซึ่งจุดกลับตัวที่สำคัญของ หลักทรัพย์ Pi จะเป็นการนับแท่งราคา เวลาที่เขียวหรือแดงแรก จะนับเป็นจุดกลับตัว แดงแรกจะเป็นจุดกลับตัวลง เขียวแรกเป็นจุดกลับตัวขึ้น พอเห็นแบบนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ จะเห็นแนวรับ-แนวต้านที่ค่อนข้างที่จะมีนัยยะ แต่แนวรับ-แนวต้าน ถ้ามีระยะของการกลับตัวถี่ หรือ บ่อย เราอาจจะให้เป็น 2 แนว ซึ่งเราอาจจะอ้างอิงจากแท่งราคาก่อนหน้า

        การบริหารจัดการความเสี่ยง Trailing Start และ Trailing Stop คือ การที่ลักษณะของแนวโน้วเกิดขึ้นแล้ว และหลังจากนั้นเราก็จะใช้วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยการเลี่อนจุด Stop ตามทิศทางนั้นๆ ถ้าเป็นแนวโน้มขาขึ้นเราจะเรียกว่า Trailing Stop ก็คือการเลี่อน Stop ตามไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นขาลงเราก็จะเรียกว่า Trailing Start ก็คือการเลื่อนจุด Stop ของฝั่งช็อตลงตาม ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มได้เปลี่ยนทิศทางอย่างสมบูรณ์แล้ว ถ้าเปลี่ยนทิศทางแบบสมบูรณ์แล้วก็จะเปลี่ยน จุดที่เรียนว่า Trailing Stop ที่เราเรียกว่าเป็น Trailing Start แล้วกลายเป็น Trailing Stop ฝั่งซื้อทันที ก็จะกลับทิศไป-มาตลอด 

 

        หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

        **พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

        สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/