สุดทาง ตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดสุดท้าย

 สุดทาง ตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดสุดท้าย

 

โดย อ. ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ

 

วันที่ 05.04.2022

 

 

        วันนี้จะมาพูดคุยรวบยอดไอเดียตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะมาพูดคุยในเรื่องความเชื่อที่มีมาเนิ่นนานว่าตลาดหุ้นไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน 9 แผนเดิมที่เราวางไว้คือขึ้นตั้งแต่เดือน 9 ปี 2021 จนถึงเดือน 3 ปี 2022 และเดือน 4 ก็จะเริ่มมีสัญญาณเริ่มปรับลดลงแล้วซึ่ง

อ. ปิง ยังคงเชื่อเช่นนั้นและวันนี้ก็คงจะมาตรอกย้ำความเชื่อนั้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีเรื่องที่เจ็บปวดใจแม้ว่าภาพตลาดจะถูกต้อง มันก็เคลื่อนที่ดีขึ้นมาตั้งแต่ตอนเดือน 9 ทั้งๆที่คนก็ไม่ได้เชื่อว่ามันจะขึ้นมา แต่ว่าหุ้นในการเลือกลงทุนก็ยังคงหาน้อยมากที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีตามตลาดขึ้นมา เพราะว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่ปรับขึ้นมาจะเน้นและกระจัดกระจายไปที่หุ้นกลางกับหุ้นเล็กเป็นหลักมากกว่า  

 

 

        ให้ดูภาพภาพหนึ่งค่อนข้างให้ค่าความแม่นยำที่เคยฉายไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นของวันที่ 1 เดือน 10  ปี 2021  ตอนเดือนตุลาคมน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของตลาดแล้ว เส้นสีเหลืองคือดัชนีของตลาดหุ้น ถามว่าทำไมต้องเป็นจุดต่ำสุดด้วย เพราะว่ามันตอบรับกับทิศทางของ Earning ไตรมาส 3 ไปแล้วแน่นอน เหตุผลเพราะเราเจอโควิดเต็มไตรมาสและมีเรื่องของการล็อกดาวน์ ดังนั้นช่วงตุลาคม มันจะเป็นจุดต่ำสุดแล้วจะเริ่มฟื้น ในขณะเดียวกันการรายงานงบจะไปถึงจุดต่ำสุดอาจจะเป็นช่วงประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนถึงจะรายงานงบกันเสร็จ นั่นคือจุดต่ำสุดของ Earning หลังจากนั้นตลาดจะเริ่มตอบรับกับกำไรตลาดที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว จะเริ่มฟื้นตัวเพื่อตอบรับกับ Earning ไตรมาส 4 ที่จะมีการรายงานงบออกมาในช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์ หรือช่วง 4Q2021 announce หุ้นควรจะต้องขึ้นและเร่งตัวขึ้นไปในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนไปถึงจุดพีคตอนเดือนเมษาเพื่อตอบรับกับผลประกอบการไตรมาส 1 นี่คือภาพเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา 

        หลังจากนั้นตั้งแต่ต้นปีก็อัปเดตภาพนี้เป็นเวอร์ชั่น2 คือช่วงมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ต้องขึ้น ตอบรับกับ Earning ไตรมาส 4 ในตอนแรก แล้วหุ้นมันก็จะขึ้นไปทำจุดพีคในช่วงเดือนเมษายนเพื่อตอบรับกับ Earning ไตรมาส 1 ที่จะประกาศในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม หลังจากนั้น Earning ก็จะพบจุดต่ำสูงสุดแล้วก็จะเดี้ยงลงมาเช่นเดียวกับตลาดหุ้น กว่าตลาดหุ้นจะฟื้นให้ไปลุ้นตอนเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นในหัวข้อ”สุดทางตลาดหุ้นไทยใกล้ถึงจุดสุดท้าย” ซึ่งก็ใกล้แล้วในเดือนเมษายน เวลาที่ตลาดขึ้นมาเกิน 1700 มันไม่ใช่เรื่องน่าดีใจแต่มันเป็น Killing Zone มันเป็นทุ่งสังหาร เป็นช่วงเวลาที่เราควรหาทางระบายของ อันไหนที่ปรับเพิ่มขึ้นมาเราก็ขายไป อันไหนที่ยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นเราก็รอก่อน 

 

 

        ต่อมาเรามาอัปเดตสถานการณ์ปัจจุบันที่จะทำให้ภาพที่กล่าวมามีความเป็นไปได้สูงที่มันจะเกิดขึ้นจริงๆ เรื่องแรกคือสถานการณ์เงินเฟ้อเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ทุกอย่างแย่ลงมากๆ ปัจจุบันตัวที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเงินเฟ้อแรงๆก็คือราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันก็มีการลงมาตั้งแต่ที่ WTI ขึ้นไปเกิน 120 เหรียญตอนต้นๆมีนาคมแล้วก็ลงมา ซึ่งเป็นไปตามที่คาดหมายที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอยู่แล้วหากใครได้ติดตาม CSI Live  และ ณ ตอนนี้มันเริ่มเด้งขึ้นมาแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของ  อ. ปิง ว่าการล่วงลงของน้ำมันยังไงมันก็ไม่ต่ำกว่า 90 เพราะฉะนั้นการปรับลงมาต่ำกว่า 100 มันมีโอกาสที่จะเปิดประตูเด้งอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าปัญหาใหญ่ที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นมันคือเรื่องของ Supply แม้ว่าสถานการณ์รัฐเซีย – ยูเครน ที่ดูเหมือนจะดีขึ้น แม้ว่าสหรัฐอเมริกามีความพยายามระบายน้ำมันออกจากคลังสำรอง แต่ไม่ว่ายังไงมันก็ชดเชย Output ของรัฐเซียที่หายไปเพราะว่ารัฐเซียเขาผลิตบางวันก็ได้ 11 ล้านบาร์เรล มาตรการการ Sanctions ทำให้ปัจจุบันรัฐเซียส่งออกน้ำมันได้แค่ประมาณ 3 – 4 ล้านบาร์เรลเอง การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของฝั่ัง OPEC ที่วันละ 4 แสนบาร์เรล กลายมาเป็นตอนนี้น่าจะผลิตประมาณวันละ 28 ล้านบาร์เรล ไม่เพียงพอต่อ Demand ของโลก 

        Saudi Arabia เตรียมปรับราคาขายน้ำมันให้กับเอเชียเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 4.4 เหรียญ ในเดือนเมษายนเป็น 9.35 เหรียญในเดือนพฤษภาคม เทียบกับ Benchmark แปลว่า Benchmark อยู่ที่เท่าไหร่ก็บวกเพิ่มเข้าไป 9.35 เหรียญนั่นคือราคาน้ำมันที่เอเชียจะได้รับก็แปลว่าราคาหน้า

โรงกลั่นมีแต่จะปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันดิบอาจจะต่ำกว่า 100 เหรียญ แต่ราคาหน้าโรงกลั่นยากมากที่จะปรับลดลงตามได้ เพราะว่าราคาขายน้ำมันที่   Saudi Arabia ขายให้กับเอเชียแพงมาก ก็แปลว่าเงินเฟ้อกำลังจะลุกลามเมืองไทยอยู่มาก  ซึ่งตอนนี้ทิศทางเงินเฟ้อในเมืองไทยยังไม่เห็นทรงที่ดีขึ้นแน่นอน ล่าสุดก็ได้มีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออกมาแล้ว 5.73 % ส่วน Core CPI ก็ไม่เดือดมากประมาณ 2.00 % นั่นแปลว่าเงินเฟ้อที่มารอบนี้มาจากด้วยราคาพลังงานและอาหารเป็นหลัก ตอนนี้ CPI ไทยก็รุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี อีกนิดเดียวจะเทียบเท่าก่อนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ความน่ากลัวมันอยู่ตรงเงินเฟ้อมันอาจจะรุนแรงมากกว่านี้เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนำเข้าพลังงานเป็นหลักมีการส่งออกน้อย ความเสี่ยงอยู่ตรงที่ถ้าค่าเงินอ่อนจะยิ่งนำเข้าพลังงานแพง ยิ่งนำเข้าพลังงานแพงเงินเฟ้อก็ยังคงมีอยู่ พอมาดู Seasonality ของค่าเงินบาทมีความน่ากลัวอยู่ โดยปกติแล้วช่วง 4 เดือนแรกของปี ถ้าปรับลดลงเงินบาทจะแข็งค่าและตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปมักจะอ่อนค่านี่คือค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วหรือปี 2021 จะเห็นได้ว่าอ่อนค่าเกือบทั้งปี เพราะปี 2021 เจอเรื่องของการขาดดุลแฝด การขาดดุลแฝดก็คือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมๆกับการขาดดุลงบประมาณ ในปี 2022 แรกๆก็แข็งค่าเพราะคาดว่าการขาดดุลแฝดปีนี้จะบรรเทาลง แต่เมื่อมาเจอเรื่องของสงครามรัฐเซียหรือแม้แต่เรื่องของน้ำมันที่พุ่งขึ้น ภาพของความกังวลการขาดดุลแฝดกลับมาแล้ว ง่ายๆเห็นได้จากแบงค์ชาติเองก็ยังคิดว่าเราจะต้องกลับไปขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จากเดิมที่เคยคาดว่าจะมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 1.5 พันล้านเหรียญ กลายเป็นขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาเป็น 6 พันล้านเหรียญ จึงไม่แปลกที่ความกังวลเรื่องการขาดดุลแฝดจะกลับมาอีกครั้ง ในช่วงเดือนเมษายน พฤภาคมและมิถุนายน มีความเสี่ยงเรื่องกระแสเงินทุนที่จะไหลออกจากการจ่ายเงินปันผลให้กับต่างชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านบาท

 

         ดังนั้นจากกราฟนี้มีแต่จะอ่อนค่ามากขึ้นในเดือนเมษายน พฤภาคมและมิถุนายน เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะได้เห็นการขึ้นดอกเบี้ยของแบงค์ชาติเร็วกว่าที่คิดมีโอกาสเยอะมาก และจะเป็นตัวสกัดกั้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ 

หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/