ยุคของการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ควรเน้นลงทุนอะไร

ยุคของการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ควรเน้นลงทุนอะไร

 

โดย อ.ปิง ประกิต สิริวัฒนเกตุ

 

 

 

          อาจารย์ ปิง กล่าวว่า ภาคธุรกิจไทยตอนนี้มีเรื่องดีลควบรวมธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเกิดขึ้นค่อนข้างถี่ เช่น GUIF จับมือกับ INTUCH , การ Synergy ระหว่าง BTS Group กับ Jaymart และการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ของ CP ถัดมามีเรื่องยานแม่ SCB สร้าง SCBS ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ แล้วทำ SCB ให้เป็นธนาคารในเครือ รวมถึงแตกบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินออกไปเป็นบริษัทย่อย แล้วก็จับบริษัทย่อยไปร่วมกับบริษัทอื่นๆ เช่น AIS , WORK , การถือหุ้นใหญ่ใน Bitkub และล่าสุดการควบรวมระหว่าง DTAC (ดีเทค) กับ TRUE (ทรู) ซึ่งสอดคล้องกับที่ได้พูดไปหลายๆ ครั้งในก่อนหน้านี้ว่า ให้จับตามองได้เลยว่าดีลต่างๆ ที่เกิดขึ้น มันกำลังฟ้องว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปปี 2019 จะเริ่มเห็นสัญญาณว่า บริษัทจดทะเบียบของประเทศไทยมาถึงทางตัน กิจการหลายอย่างเกิดช่องทางการโตยาก เพราะโลกนี้เข้าสู่ยุคของ Digital Economy ซึ่งในประเทศไทยไม่ได้มีบริษัทที่เป็นเจ้าของแพลทฟอร์มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ซึ่งพอไม่มีแพลทฟอร์มเป็นของตัวเองเท่ากับว่า เราก็ไม่มีการกระจายรูปแบบการบริการ การเสนอขายสินค้าหรือยังไม่มีช่องทางไปสู่สายตาของชาวโลก ส่วนใหญ่เราจะไปอิงแพลทฟอร์มใน Social media ในปัจจุบัน จึงทำให้มองว่าเศรษฐกิจไทยเป็น Old Economy ล้าหลัง โตไม่ได้ สิ่งนี้คือภาพสมัยปี 2019 ทำให้ในปัจจุบันเกิดการตั้งหลักใหม่ของบรรดาภาคธุรกิจในประเทศไทยตลอด 2 ปี และเมื่อพอมาเจอกับ Covid-19 ก็กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้ภาคธุรกิจจะต้องคิดแล้วว่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง ที่เหมือนจะก้าวทันเทคโนโลยี แต่ก็เป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยีไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์ แล้วในยุคหน้าผู้ใช้ก็จะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ เพราะว่าคนที่จะขยายใหญ่ คือ ผู้ที่สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของแพลทฟอร์ม เป็นเจ้าของเครือข่าย การที่ยังเป็นผู้ที่เข้าไปอยู่ในเครือข่ายนั้นๆ ก็เปรียบเสมือนยังโตไม่ได้ ภาคธุรกิจคงน่าจะเริ่มหันมามองตัวเองว่าจะปรับตัวเองอย่างไร จะสามารถก้าวไปสู่ยุคหน้าอย่างไร 

          ด้านกลุ่มการเงินเป็นบริการหนึ่งที่ให้บริการผ่านแพลทฟอร์มได้ง่ายที่สุด การที่จะขยายรายได้ในกลุ่มการเงินทำได้ไม่ยาก เพราะประเทศไทยเป็น Blue Ocean สำหรับตลาดสินเชื่อ กลุ่มการเงินจึงเป็นที่น่าจับตาว่าอาจจะมีจุดที่ร่วมมือกัน อย่าได้ประมาท เนื่องจาก CEO มีการคิดอยู่ตลอดเวลาว่า จะทำยังไงให้บริษัทก้าวต่อไปได้ โดยที่ยุคนี้เป็นยุคที่ รวมกันเราอยู่ อาจจะมีไอเดียอะไรเกิดขึ้นในไม่ช้า

 

 

         การรวมกันระหว่าง DTAC (ดีเทค) กับ TRUE (ทรู) ที่รวมกันเพื่ออยู่รอดไม่ใช่รวมกันเพื่อจะไปแข่งขันให้ได้เป็นที่ 1 เพราะสถานการณ์ตอนนี้ของทั้งคู่ดูไม่ค่อยดี ดีเทคมีภาพของศักยภาพการแข่งขันค่อนข้างแย่ เนื่องจาก คลื่นในมือมีน้อยหรือที่มีอยู่ไม่สามารถเอาไปแข่งขันได้ แต่สิ่งที่ดีเทคมีแต่ทรูไม่มีคือ เรื่องของความสามารถในการบริหารเรื่อง Income statement ได้ดี หลายๆ ครั้งผลประกอบการของดีเทคจะดีกว่าที่ตลาดคาด ทำออกมาได้ดี มีความสามารถในการจัดการ การจัดการบริการต้นทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทรูไม่มี ส่วนสิ่งที่ทรูมี คือ มีคลื่นที่อยู่ในมือเยอะมาก แต่สิ่งที่ทรูขาด คือ การจัดการต้นทุน และปัญหาใหญ่ของทรูคือ ต้องการแข่งขัน แต่การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ใช้เม็ดเงินลงทุนในแต่ละปีสูงมาก จึงเกิดเหตุการณ์ที่ต้องร่วมมือกัน การรวมกับของทรูกับดีเทค ก็เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ดีสำหรับหลายๆ บริษัทที่ไปเดี่ยวแล้วหนื่อย

          ความแข็งแกร่งของภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนของไทย งวดนี้ทำกำไรไตรมาส 3 ออกมาแล้วดูดีมาก 2 แสน 1 หมื่นล้าน ถือว่าดีกว่าที่คาดไว้เยอะมาก อาจจะหดตัวจากไตรมาสที่แล้ว 20% แต่ก็เติบโตจากปีที่แล้วมาก ถือว่าเป็นกำไรตลาดที่แข็งแกร่งมาก เป็นกำไรไตรมาส 3 ที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปี และถือว่าบริษัทจดทะเบียนกลุ่มกลาง กลุ่มเล็กยังสามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ค่อยขาดทุน ยังคงรักษาระดับกำไรได้ทั้งๆ ที่เจอสถานการณ์ย่ำแย่ในไตรมาส 3 ในส่วนของกำไรสุทธิปีนี้มากที่สุดในประวัติการณ์ แต่ EPS ไม่ได้มากที่สุด เพราะว่ามี Market Cap ที่ใหญ่ขึ้นจากบรรดาบริษัท IPO ใหม่ๆ EPS จะได้มาณ 83 – 84 บาทต่อหุ้น ปีที่แล้ว EPS ต่ำเพราะว่า โดนขาดทุนจากการบินไทย แต่ปีนี้ไม่นับ EPS เลยเด้งขึ้นไปเยอะ แล้วปีหน้าถ้าเป็นไปได้อาจจะได้เห็นกำไรตลาดไปถึงเกิน 1 ล้านล้าน แต่ในระยะทางข้างหน้ามีอุปสรรคเยอะ เช่น เราจะคาดหวังกำไรไตรมาส 4 ได้ หุ้นน่าจะขึ้นไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ แล้วก็น่าจะมีความคาดหวังผลประกอบการไตรมาส 1 ปีหน้า หุ้นก็อาจจะวิ่งยาวไปจนถึงเดือนเมษายน แต่หลังจากเดือนเมษายนน่าจะเหนื่อยมากๆ เพราะว่า จะต้องเจอเรื่องของการยุติ QE น่าจะมีการลดขนาด QE เร็วกว่าที่ตลาดคาด อาจจะได้เห็นการยุติ QE ตั้งแต่ มิถุนายน หรือ เมษายน แรงกดดันก็จะเริ่มมา โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย แรงกดดันจากทางตลาดต่างประเทศจะค่อนข้างเยอะ เรื่องขึ้นดอกเบี้ย เรื่องของไม่มี QE และอาจจะมีเรื่องของการลดขนาดงบดุล   

 

          หากคุณต้องการเรียนรู้สถานการณ์สดๆ ทันต่อเหตุการณ์ โอกาสพิชิตการลงทุนก็อยู่แค่เอื้อม คอร์สนี้คือคอร์สสำหรับคุณ “Investment & Business Buffet (IB)” 

 

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/investment-buffet/