ปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี ช่วงวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน

“ปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี ช่วงวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน”

 

โดย อ. เผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ ประธานสายธุรกิจรายย่อย บล. หยวนต้า

 

วันที่ 14 มี.ค. 2022

 

 

        ในคลิปนี้เมาพูดคุยกันว่าอีก 1 เดือนข้างหน้าควรจะปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี ในช่วงของวิกฤติรัสเซียและยูเครน แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องดูก็คงต้องดูประเด็นในเรื่องของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมันจะลามไปหรือไม่ เพราะถ้าความเสี่ยงที่มองคือเรื่องการเงินหรือพันธบัตรรัสเซียประเภท 10 ปี ความหมายก็คือคำว่า CDS (Credit Default Swap) ก็เหมือนกับการซื้อประกันแต่ไปซื้อในตลาด ถ้าพันธบัตรรัฐบาลของรัสเซียหากเขาเบี้ยวขึ้นมา ปรากฏว่าสถานบันการเงินเขามีการการันตีว่าจะมีค่าความเสี่ยงเท่าไหร่ เมื่อดูของรัฐเซียจากภาพฝั่งซ้ายก่อนหน้านี้อยู่ที่ประมาณ 200 Basis Points แล้ววันที่เกิดเหตุก็วิ่งขึ้นไปถึง 2800 หรือ 28% ซึ่งก่อนหน้านี้คือ

 2 % แต่ตอนนี้ปรับลงมาเหลือ 2400 ต้นๆ ถ้าเทียบกับตอนก่อนเกิดโควิดอยู่แค่ประมาณ 400 หรือ  4 %  ซึ่งมองว่ามันกระทบแน่ๆอยู่แล้วแต่ถ้าดูทางด้านภาพขวา ประเภทเดียวกันคือ Credit Default Swap เมื่อดูจากภาพข้างบนคืออเมริกา จะสังเกตว่ามันลงในช่วงนี้อยู่ที่ประมาณ 8.75 Basis Points ถ้าจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของอเมริกา การป้องกันความเสี่ยง 100 นึงก็อยู่ที่ 0.08 แทบจะไม่มีความเสี่ยงในสายตาของนักลงทุนเลย

 

        

       อีกความเสี่ยงหนึ่งก็คือความเสี่ยงด้านพลังงาน หรือราคาน้ำมันที่ช่วงนี้ได้ปรับลงแล้ว แต่ต้องบอกว่าในแง่มุมของความเสี่ยงเรื่องพลังงานเริ่มลดลง สรุปภาพรวมที่เกิดขึ้นตอนนี้คือมีการปรับประมาณการ GDP ลง คนที่ลงหนักก็เป็นยุโรป ในทางกลับกันก็คือเงินเฟ้อ คนที่ขึ้นหนักก็ยังเป็นยุโรปเช่นเดียวกัน และคนลงหนักแน่นอนว่าเป็นรัสเซียและเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นเยอะ สิ่งที่การลงทุนไม่ชอบคือเศรษฐกิจชะลอตัว ติดลบ การคาดการณ์น้อยลงแต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งก็มองว่าทั้งโลกเป็นแบบที่กล่าวมา ซึ่งกรณีนี้การเก็บเงินสดที่เป็นดอลลาร์หรือทองคำจะดีที่สุด มาดูทางฝั่งของอเมริกา Indicator ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะไว้ใช้ในการปรับขึ้นดอกเบี้ย และลดดอกเบี้ย มี 2 ตัว ตัวแรกคือตัวเลขการจ้างงาน ตัวที่สองก็คืออัตราเงินเฟ้อ ปรากฏว่าตัวเลขการจ้างงานของอเมริกาตอนนี้การจ้างงานภาคเกษตรเดือนกุมภาพันธ์ 2022 อยู่ที่ 678,000 ตำแหน่ง เทียบกับเดือนก่อนหน้าคือมกราคม 2022  อยู่ที่ 480,000 ตำแหน่ง ก็เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนมกราคมและเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด ซึ่งสังเกตว่าตัวเลขอัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตรมันใกล้กลับไปที่ก่อนเกิดโควิดในช่วงต้นปี 2020 ในทางกลับกันก็คือตัวเลขอัตราการว่างงานตอนนี้ก็เหลือ 3.8% เมื่อไหร่ก็ตามตัวเลขอัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.8 เมื่อไหร่ ในหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2018, 2019, 2022 ที่เขาขึ้นดอกเบี้ย ปรากฏว่าตัวเลขที่มีอัตราการว่างงานที่มีอยู่ 3.8% ส่วนใหญ่แล้วมีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะการที่ Real Fed Funds Rate คือเอาดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันเงินเฟ้ออเมริกาอยู่ที่ 7.9% ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.08% คือติดลบ 7.83% แสดงว่ามีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยสูงมาก  

       โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจารย์เผดิมภพ สงเคราะห์ ใช้ดูบ่อยคือ CME FedWatch หลายคนสงสัยว่าทำไมนำภาพเดิมมา หน้าตาเหมือนเดิมแต่จริงๆแล้วตัวเลขมันเปลี่ยนไป ตัวเลขที่มีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้จนถึงปีนี้ ในมุมของการลงทุนใน CME FedWatch บอกว่าจะขึ้น 7 ครั้ง หรือว่าดอกเบี้ยจะขึ้นไปถึง 1.75  หรือ 2.0% คือ 14 ธันวาคม 2022 น่าจะเห็นดอกเบี้ย 1.75% ถึง 2.0%  ความหมายคือเกือบ 7 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจของอเมริกากับยุโรปคนมองว่าไม่ได้กระทบเศรษฐกิจทางฝั่งอเมริกามากเท่าไหร่แต่หากเป็นยุโรปหรือ ECB เพิ่งจะลด QE ฉะนั้นมีความเชื่อว่ายุโรปน่าจะมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าฝั่งอเมริกา ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินยูโรที่กำลังจะแข็งค่าอยู่ดีๆก็อ่อนค่าลงมา จึงมีความเชื่อว่าตอนนี้หุ้นยุโรปจะเป็นหุ้นที่  Underperform ในเวลานี้เพราะกระทบเรื่องของยูเครนและรัฐเซียด้วยส่วนหนึ่ง

      วัฏจักรเศรษฐกิจกับการลงทุนสินทรัยพ์ต่างๆของโลกอยู่ตรงไหน เมื่อดูภาพที่หลายคนเริ่มชินตากับทฤษฎีลงทุนแบบโมเมนตัมในหุ้นหรือ Momentum Investor ซึ่งอยากให้ทุกคนจำภาพนี้ให้ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เมื่อสรุปจากภาพวัฏจักรการลงทุนในแต่ละช่วง 

  1. หุ้น/สินทรัพย์ดิจิทัล ดีที่สุด ตราสารนี้ระยะยาวนองลงมา
  2. สินค้าโภคภัณฑ์ดีที่สุด หุ้น/สินทรัพย์ดิจิทัล รองลงมา
  3. เงินฝากดีที่สุด สินค้าโภคภัณฑ์รองลงมา
  4. ตราสารหนี้ระยะยาวดีที่สุด เงินฝากรองลงมา

อ. เผดิมภพ สงเคราะห์  มองว่าเป็นช่วงที่ 3 ซึ่งหุ้นทุกอย่างส่วนใหญ่แล้วมันจะ Sideway รวมถึงตัวของดอลลาร์และทองคำก็จะ Sideway ธรรมดา ถ้าเข้ามาช่วงที่ 4 หรือเงินเฟ้อลดลงหุ้นที่เป็น Utility หุ้นโรงพยาบาลจะมา เพราะฉะนั้นมองว่าช่วงนี้อยู่ในช่วงที่อึดอัด เพราะตอนนี้มันอยู่ในช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะชะลอตัวคือรายได้โตน้อยลง ส่วนเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นคือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หากใครที่จะลงทุนในหุ้นแบบระยาวเช่นถือ 6 เดือน 1 ปี ยังไม่แนะนำ

             ประมาณการคาดว่าจะปรับขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้พยายามบอกว่าเงินเฟ้อประเทศไทยต่ำ เศรษฐกิจดี เงินเฟ้อลดลงชาวต่างชาติชอบ ค่าเงินบาทก็แข็งค่าหุ้นเลยปรับตัวขึ้นได้แรง แต่ ณ วันนี้เศรษฐกิจกำลังจะชะลอตัวจากเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา สรุปเลย ณ ตอนนี้จนถึงปลายเดือนมีนาคม  2022 คิดว่าหุ้นจะ Sideway ส่วนค่าเงินบาทน่าจะยังไม่กลับมาแข็งค่า

 

หากคุณสนใจต้องการรับสิทธิ์พิเศษ และรับชมย้อนหลังได้ทุกการบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ กับโครงการคอร์สการลงทุน CSI ซึ่งได้รวบรวมและจัดหลักสูตร CSI-Pack กว่า 400 คอร์สการลงทุน

**พิเศษ! คอร์ส CSI-Pack สมาชิกรายเดือน เพียง!! 1,990 บาท จากปกติ 5,900 บาท ลงทะเบียนแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

สามารถสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้ https://csisociety.com/csi-pack/